2 นาที

ประกันชีวิตช่วยลดหย่อนภาษีแบบไหน?ตอบโจทย์ความเป็นคุณ

แชร์

ในช่วงกลางปีเช่นนี้ หลายๆ คนที่กำลังมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีดีๆ อย่างประกันอยู่เป็นแน่ แต่เคยตั้งคำถามกันบ้างไหมว่าประกันที่คุณกำลังจะเลือกซื้อนั้นตอบโจทย์กับความจำเป็นในชีวิตได้จริงๆ หรือเปล่า เพราะบางทีคำว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็อาจบดบังจนทำให้เผลอหลงลืมจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำประกัน

ประกันชีวิตเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ถูกออกแบบมาเพื่อบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวคุณในอนาคต ซึ่งการบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) เป็นรากฐานสำคัญในการวางแผนการเงินตามแนวคิดพิรามิด ( Financial Planning Pyramid) ซึ่งเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ


ขอบคุณรูปจาก https://www.moneyunder30.com/financial-planning-pyramid-11294 
การเลือกซื้อประกันเพื่อเน้นใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นหลักจึงอาจทำให้คุณได้แบบประกันที่ไม่ตอบโจทย์ และไม่สามารถครอบคลุมความเสี่ยงที่มี เพราะเหตุนี้การศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันแต่ละประเภทให้ดีเสียก่อนก็ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นว่าประกันประเภทไหนตอบโจทย์ความเป็นคุณได้มากที่สุด 
เปรียบเทียบรายละเอียดและเงื่อนไขวามคุ้มครองของประกันชีวิตแต่ละประเภท 
ประกันลดหย่อนภาษี
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance)  
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลามีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองชีวิตแบบระยะสั้น หรือในเวลาอันจำกัด เช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี สามารถเลือกรูปแบบการชำระเบี้ยประกันได้ แถมเบี้ยประกันยังไม่สูงมากนัก แต่ประกันแบบชั่วระยะเวลานั้นจะไม่มีเงินคืนให้กับผู้เอาประกันเมื่อถืออยู่จนครบระยะสัญญาคุ้มครอง ยกเว้นในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตระหว่างที่ประกันยังคุ้มครองอยู่ บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินเอาประกันให้กับผู้รับผลประโยชน์เพื่อเยียวยาใช้ความสูญเสียที่เกิดขึ้น  
นิยามประกัน เบี้ยเบา เน้นคุ้มครอง ไม่มีคืน 
เหมาะกับใคร คนที่มีงบจำกัด เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบภาระหนี้สิน หรือต้องดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัวทั้งหมด 
ประกันแบบระยะยาว (Whole life insurance) 
ประกันชีวิตแบบระยะยาว หรือตลอดชีพ สามารถเลือกระยะการชำระเบี้ยประกันได้ เช่น 5 ปี 10 ปี 15 ปี หรือ 20 ปี แต่จะให้ความคุ้มครองชีวิตแบบตลอดชีพ สำหรับเบี้ยประกันนั้นไม่ได้สูงมากจนจับต้องไม่ได้ หากเลือกทำแผนประกันที่มีปันผลก็จะมีเงินคืนให้ และในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์ยังคุ้มครองอยู่ทางบริษัทประกันจะจ่ายเงินเอาประกันให้กับผู้รับประโยชน์เพื่อนำไปใช้เป็นมรดก หรือนำไปใช้ชำระหนี้สินต่างๆ และหากมีความจำเป็นต้องการใช้เงิน  
นิยามประกัน จับต้องได้ คุ้มครองยาว มีคืนบ้าง 
เหมาะกับใคร คนที่มีงบสูงขึ้นมาหน่อย และต้องรับผิดชอบภาระหนี้สิน หรือต้องดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัวทั้งหมด 
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance)  
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับผลตอบแทน ซึ่งสามารถเลือกระยะชำระเบี้ยประกันได้ ตั้งแต่ 3 ปี ไปจนถึง 30 ปี และถึงแม้ว่าเบี้ยของประกันประเภทนี้จะค่อนข้างสูง แต่หากถามหาความคุ้มค่า ต้องตอบเลยว่าก็คุ้มอยู่ไม่น้อย เพราะได้ทั้งการคุ้มครองและผลตอบแทน แถมที่สำคัญยังการันรันตีเงินคืน ไม่เสี่ยงเหมือนการลงทุนประเภทอื่นอีก สำหรับรูปแบบเงินคืนนั้นสามารถเลือกได้ว่าอยากให้เป็นแบบไหน มีทั้งแบบจ่ายคืนเป็นงวดๆ และเป็นจ่ายเต็มแบบก้อนเดียวจบ 
นิยามประกัน สูงนิด ยืดหยุ่นได้ การันตีเงินคืน 
เหมาะกับใคร คนที่ต้องการออมเงินแล้วได้รับการการันตีผลตอบแทนที่แน่นอนไปพร้อมกับการบริหารความเสี่ยง และมีงบมากขึ้นในการซื้อประกัน  
ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจํา/แบบบํานาญ (Annuity Insurance)  
ประกันชีวิตแบบบำนาญจะมีความคล้ายคลึงกับประกันชีวิตแบบออมทรัพย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นประกันที่เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง ซึ่งประกันชีวิตแบบบำนาญจะเน้นผลตอบแทนในยามเกษียณ หรือที่เรียกันว่า “เงินบำนาญ” โดยผู้เอาประกันจะต้องชำระเบี้ยไปเรื่อยๆ จนถึงอายุเกษียณ หรือเลือกชำระเบี้ยตามระยะเวลาที่แบบประกันกำหนดก็ได้เช่นกัน โดยจะได้รับเงินคืน (เงินบำนาญ) อีกทีเมื่อตอนเกษียณ (55 60 หรือ 65 ปี) ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90ปี  ซึ่งบริษัทประกันจะจ่ายคืนเป็นงวดๆ ในจำนวนที่เท่ากันทุกๆ ปี 
สำหรับการคุ้มครองชีวิตในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนเวลารับเงินบำนาญทางบริษัทประกันก็จะจ่ายเงินชดเชยให้ในมูลค่าที่สูงเบี้ยประกันที่ชำระไปโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นจากทุนประกัน หรือเบี้ยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด ในบางกรณีอาจจ่ายเป็นมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ แล้วแต่ว่ามูลค่าไหนจะมากที่สุด หากเสียชีวิตหลังจากเริ่มรับเงินบำนาญแล้วทางบริษัทประกันจะจ่ายชดให้ตามมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญส่วนที่ยังเหลืออยู่ตามรายละเอียดความคุ้มครองของกรมธรรม์ชีวิตนั้นๆ  
นิยามประกัน สูงนิด ยาวหน่อย การันตีเงินคืน(บำนาญ) 
เหมาะกับใคร คนที่ต้องการการันตีรายได้หลังเกษียณไปพร้อมๆ กับการบริหารความเสี่ยง และมีงบที่มากขึ้นสำหรับการซื้อประกัน 
ประกัน ความคุ้มครองต่อความคุ้มค่า ระดับเบี้ยประกัน ลดหย่อนภาษี 
ชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) เน้นความคุ้มครองมากกว่าผลตอบแทน ต่ำ สูงสุด 100,000 บาท 
ระยะยาว (Whole life insurance) เน้นความคุ้มครองมากกว่าผลตอบแทน กลาง 
สะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance)  เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง สูง 
แบบบํานาญ (Annuity Insurance) เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง สูง สูงสุด 200,000 บาท 
คนส่วนใหญ่อาจเลือกทำประกันชีวิตเพียงเพราะแค่ต้องการนำไปลดหย่อนภาษี ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเพียงแค่ผลกำไรจากการรทำประกันเท่านั้นไม่อาจนำมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจได้ ดังนั้นการเลือกซื้อประกันให้ตอบโจทย์ความเป็นคุณ โดยอันดับแรกต้องเข้าใจรายละเอียดของประกันแต่ละประเภทให้ดี และที่สำคัญที่สุดต้องหาให้เจอว่าปัจจัยเสี่ยงของตัวคุณมีอะไรบ้าง  
ยกตัวอย่างเช่น นาย noon เป็นหัวหน้าครอบครัว และมีความฝันอยากให้ลูกเรียนจบจนถึงระดับปริญญาตรี แต่ก็มีงบไม่เยอะมากนักสำหรับการทำประกัน ดังนั้นประเภทประกันชีวิตที่นาย noon ควรทำจึงได้แก่ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา หรือตลอดชีพ 
หลักจากรู้แล้วว่าประกันชีวิตประเภทไหนตอบโจทย์คุณที่สุด ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกทุนประกันชีวิตให้เหมาะสมและครอบคลุมกับภาระความเสี่ยงที่มี หรือจะลองเข้ามาวางแผนซื้อประกันลดหย่อนภาษีผ่าน noon ซึ่งมีระบบช่วยค้นหา และคัดกรองแบบประกันที่เหมาะสมตามหลักการแผนการเงิน และวิธีคิดคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย รับรองได้ประกันชีวิตช่วยลดหย่อนภาษีที่ตรงใจ และตอบโจทย์อย่างแน่นอน


ขอบคุณแหล่งข้อมูล: scb.co.th, moneyunder30.com, aommoney.com, oic.or.th/th, set.or.th, itax.in.th, 10 ความจริงที่ควรรู้ ก่อนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี : ตอน 1

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้