1 นาที

สัญญาเพิ่มเติมคืออะไร แล้วมีอะไรบ้าง

แชร์

จากบทความ “จะซื้อประกันชีวิตเจ้าไหนดี มีวิธีเลือกอย่างไร” ที่ได้กล่าวถึงแบบประกันชีวิตว่ามีทั้งหมด 5 แบบ คือ ประกันตลอดชีพ ประกันแบบชั่วระยะเวลา ประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันแบบบำนาญ และประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked)

ทั้ง 5 แบบนี้จะเรียกว่าสัญญาหลัก แต่นอกเหนือจากสัญญาหลักทั้ง 5 แบบนี้แล้วยังมีสัญญาเพิ่มเติมที่เราสามารถซื้อเพิ่มเติมได้ยกตัวอย่างเช่นประกันสุขภาพ ซึ่งต้องซื้อพ่วงกับสัญญาหลัก แล้วสัญญาเพิ่มเติมมีอะไรบ้าง มีข้อแตกต่างจากสัญญาหลักอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้

สัญญาเพิ่มเติมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆดังนี้
1.สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มสุขภาพ
สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มสุขภาพนี้หลายๆท่านน่าจะคุ้นเคยกันดีกับคำว่าประกันสุขภาพ นั่นคือความคุ้มครองด้านสุขภาพนั่นเอง ซึ่งแบ่งย่อยๆ ได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล จะเป็นความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน (IPD) หรือ ผู้ป่วยนอก (OPD) แล้วแต่ว่าเราจะเลือกทำแบบไหนหรือทั้งสองแบบ ซึ่งจะมีวงเงินสูงสุดสำหรับความคุ้มครองในแต่ละครั้งของการรักษา
  • คุ้มครองโรคร้ายแรง จะเป็นความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น กลุ่มมะเร็ง, กลุ่มโรคหัวใจ, กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบประสาท โดยแต่ละบริษัทประกันจะระบุว่าคุ้มครองโรคร้ายแรงอะไรบ้าง เมื่อผู้ทำประกันเป็นโรคร้ายแรงบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาตามค่ารักษาจริงแต่ไม่เกินค่าสูงสุดที่ระบุไว้ หรือในบางแบบจะเป็นแบบ เจอ จ่าย จบ คือเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงตามที่ระบุจะจ่ายเป็นเงินก้อนมาเลย และสัญญาเพิ่มเติมเป็นอันสิ้นสุด
  • คุ้มครองค่าชดเชยรายวัน เป็นความคุ้มครองในกรณีที่นอนพักที่โรงพยาบาลหรือเป็นผู้ป่วยใน (IPD) นั่นเอง โดยจะจ่ายเงินชดเชยเป็นรายวันตามที่เราเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตามจริงสูงสุดตามจำนวนเงินที่เราทำประกันไว้ในส่วนของค่าชดเชยรายวัน
2.สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มอุบัติเหตุ
เป็นสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะคุ้มครองใน 4 ลักษณะคือ
  • เสียชีวิต คุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ เพิ่มเติมจากแบบสัญญาหลัก
  • สูญเสียอวัยวะ คุ้มครองในกรณีเสียอวัยวะเนื่องจากอุบัติเหตุ โดยสัญญาจะระบุมาเลยว่าเป็นอวัยวะใดบ้าง เช่น มือ, เท้า, ตา, นิ้ว
  • ทุพพลภาพ คุ้มครองในกรณีทุพพลภาพเนื่องจากอุบัติเหตุ จะแบ่งเป็น ทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร
  • ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการอุบัติเหตุ โดยจะมีวงเงินสูงสุดสำหรับการรักษาในแต่ละครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ
  • อื่นๆ
3.สัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ นอกเหนือจากสุขภาพและอุบัติเหตุ ดังนี้
  • สัญญาเพิ่มเติมยกเว้นเบี้ยประกันเมื่อผู้เอาประกันหรือผู้ชำระเบี้ยเป็นผู้ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร
เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่จะยกเว้นเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาหลักในกรณีผู้เอาประกันภัยตกเป็นบุคคลทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร โดยจะยกเว้นเบี้ยเฉพาะแบบสัญญาหลักเท่านั้น ไม่ได้ยกเว้นเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมด้วย
  • สัญญาเพิ่มเติมประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่เหมือนกับประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ในกรณีที่เราต้องการเพิ่มวงเงินคุ้มครองประกันชีวิตในช่วงเวลาหนึ่ง เช่นผู้เอาประกันต้องไปทำงานต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี จึงอยากเพิ่มวงเงินคุ้มครองในช่วงเวลานี้
          เมื่อเราได้ทราบถึงสัญญาเพิ่มเติมว่ามีอะไรบ้างไปแล้ว ทีนี้เรามาดูว่าความแตกต่างระหว่างสัญญาหลักกับสัญญาเพิ่มเติมกันบ้างว่ามีอะไรบ้าง
  1. สัญญาหลักที่ไม่ใช่แบบชั่วระยะเวลาจะมีมูลค่ากรมธรรม์ แต่สัญญาเพิ่มเติมจะไม่มีมูลค่ากรมธรรม์หรือพูดง่ายๆคือ สัญญาเพิ่มเติมถ้าไม่มีการเคลมจะไม่มีเงินคืนนั่นเอง
  2. สัญญาหลักเบี้ยจะเท่ากันทุกปีจนครบสัญญา แต่สัญญาเพิ่มเติมจะมีการปรับเบี้ยตามอายุที่สูงขึ้น
  3. สัญญาหลักเป็นสัญญาระยะยาว แต่สัญญาเพิ่มเติมจะเป็นสัญญาแบบปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่ต้องการทำสามารถยกเลิกได้
จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าสัญญาเพิ่มเติมช่วยเพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่เราต้องการเพิ่มจากสัญญาหลักในหลายๆรูปแบบ สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือสัญญาเพิ่มเติมเป็นสัญญาแบบปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่ต้องการทำก็สามารถยกเลิกได้ แต่ข้อควรระวังคือในกรณีถ้าเรายกเลิกไปแล้วเราอยากกลับมาทำใหม่บริษัทประกันอาจจะมีการพิจารณาการรับประกันใหม่เช่น สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพอาจจะต้องมีการตรวจร่างกายใหม่และถ้าเราเกิดสุขภาพไม่ดี มีโรค บริษัทประกันอาจไม่รับหรือยกเว้นโรคที่เราเป็นใหม่ได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะทำสัญญาเพิ่มเติมหรือถ้าทำแล้วจะยกเลิกเราควรพิจารณาถึงความพร้อมในการจ่ายเบี้ยและความเสี่ยงของเราให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ทุกกรมธรรม์ที่เราได้ทำ ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้
เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ สัญญาเพิ่มเติมที่ตอบโจทย์ที่ noon.in.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้