เมื่อโรค และโลกเปลี่ยนไปการประกันสุขภาพก็ต้องปรับตัวให้ทันตาม สำนักงาน คปภ.จึงได้ดำเนินการยกเครื่องมาตรฐานประกันสุขภาพเสียใหม่ หรือที่เรียกว่ามาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ (NEW HEALTH STANDARD) โดยทาง คปภ.จะปรับปรุงทั้งสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพที่แนบท้ายกรมธรรม์ประกันชีวิต และประกันสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย.64 เป็นต้นไป ตามประกาศคำสั่งนายทะเบียนที่56/2562, 14/2564 และ 55/2562
การก้าวไปสู่มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ( NEW HEALTH STANDARD) อาจทำให้หลายๆ คนตั้งคำถามว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เอาประกันจริงหรือเปล่า เพื่อเป็นการตอบคำถามดังกล่าว บทความนี้ได้สรุปข้อดีเกี่ยวกับมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ( NEW HEALTH STANDARD) มาให้ทุกๆ คนได้ลองอ่านกันแล้วจะรู้ว่าก
ข้อดีของมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ( NEW HEALTH STANDARD)
1.ทันต่อยุคสมัยมากขึ้น
รายละเอียดความคุ้มครอง และเนื้อหาของการประกันสุขภาพสอดคล้องกับเทคโนโลยี และวิวัฒนาการการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน
2.เปรียบเทียบง่ายขึ้น
รายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขการประกันสุขภาพอยู่บนมาตรฐานเดียวกันจึงทำให้เราสามารถเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพได้ง่ายขึ้น
รายละเอียดหมวดความคุ้มครองมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ( NEW HEALTH STANDARD )
กรณีผู้ป่วยใน | กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน |
หมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาล ค่าห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) ค่าห้องผู้ป่วยทั่วไป ค่าอาหาร (กรณีผู้ป่วยใน) ค่าบริการในโรงพยาบาล (กรณีผู้ป่วยใน) | หมวดที่ 6 ค่าบริการทางการแพทย์ก่อนและหลังนอนโรงพยาบาล ค่าบริการเพื่อตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ภายใน 30 วันก่อนหรือหลังการเป็นผู้ป่วยในครั้งนั้น ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Follow-up) ภายใน 30 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล |
หมวดที่ 2 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา ค่าแพทย์อ่านผลตรวจต่างๆ ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าบริการทางการพยาบาล ไม่รวม ค่าพยาบาลเฝ้าไข้พิเศษ ค่ากายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด ค่ายา ค่าสารอาหารทางหลอดเลือด ค่ารังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ รวมถึงการฝังแร่ ค่าบริการเครื่องมือแพทย์ ค่าบริการกายอุปกรณ์ (ไม่รวมค่าอุปกรณ์) ค่าบริการชุดเหมาจ่ายการรักษาพยาบาลบำบัดการรักษา ค่ายาและเวชภัณฑ์สิ้นเปลือง (เวชภัณฑ์1) สำหรับกลับบ้าน | หมวดที่ 7 ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บ กรณีผู้ป่วยนอกภายใน 24 ชั่วโมงของการเกิดอุบัติเหตุต่อครั้ง ผลประโยชน์สำหรับค่ารักษาพยาบาล การบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ รักษาในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล เข้ารับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เกิดเหตุ |
หมวดที่ 3 ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม(แพทย์) ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ (Doctor Fee) | หมวดที่ 8 ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู ค่าบริการกายภาพบำบัด ค่ากิจกรรมบำบัด ค่าประกอบวิชาชีพแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกายภาพบำบัด ค่าเครื่องมือและเวชภัณฑ์สำหรับการรักษาต่อเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก หลังการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน |
หมวดที่ 4 ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัด (ศัลยกรรม) และหัตถการ ค่าห้องผ่าตัดและค่าห้องทำหัตถการ ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์การผ่าตัดและหัตถการ ค่าแพทย์ศัลยกรรม ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด (Doctor Fee) ค่าแพทย์ทำหัตถการ ค่าแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด ค่าวิสัญญีแพทย์ ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ | หมวดที่ 9 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคไตวายเรื้อรัง โดยการล้างไตผ่านทางเส้นเลือด(Hemodialysis) |
หมวดที่ 5 การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) จ่ายผลประโยชน์เสมือนการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล | หมวดที่ 10 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยรังสีรักษา รังสีร่วมรักษา โดยเวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา รวมถึงการฝังแร่รักษามะเร็ง ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับรังสีแพทย์ที่ให้การบำบัดรักษา |
หมวดที่ 11 ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการรักษาโรคมะเร็งโดยเคมีบำบัด ค่ายาเคมีบำบัดรวมถึงค่าบริการทางการแพทย์ การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับแพทย์ที่ให้การบำบัดรักษา | |
หมวดที่ 12 ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน สำหรับการเคลื่อนย้ายไปหรือมาจากโรงพยาบาล ตามความจำเป็นทางการแพทย์ ที่ต้องใช้รถพยาบาลใน กรณีฉุกเฉิน ค่ายา เวชภัณฑ์ ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉิน ก่อนการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล | |
หมวดที่ 13 ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัดเล็ก สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย โดยการผ่าตัดเล็ก |
3.การบอกเลิกสัญญากรมธรรม์มีเงื่อนไขชัดเจนมากขึ้น
โดยปกติแล้วสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ และประกันสุขภาพสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี และจะต่ออายุเมื่อครบปีกรมธรรม์ (Renewal) ยกเว้นเราผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- ไม่แถลงความจริงในใบคำขอเอาประกัน หรือคำขอต่ออายุ
- เคลมประกันโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ เช่น แพทย์แจ้งว่าให้สามารถรับยาแล้วกลับไปนอนพักต่อที่บ้านได้ แต่เรามีความประสงค์ที่จะขอนอนโรงพยาบาล 1 คืน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองไม่สามารถเคลมประกันสุขภาพได้ เพราะไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์
- เรียกร้องผลประโยชน์ค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลรวมกันทุกบริษัทเกินกว่ารายได้ที่แท้จริง
เช่น เราทำประกันสุขภาพไว้ทั้ง 5 บริษัท ซึ่งในแต่ละกรมธรรม์ระบุไว้ว่าเราจะได้รับค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ 1000 บาท สูงสุด 30 วัน หากเราเกิดป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล 30 วัน และเลือกที่จะเคลมกรมธรรม์ทั้งหมด ค่าชดเชยรายวันที่เราต้องได้รับจะรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,000 บาท แต่รายที่แท้จริงของเราคือ 15,000 /เดือน ซึ่งเงินชดเชยที่ได้รับมากวว่ารายได้ที่แท้จริงถึง 10 เท่า การผิดเงื่อนไขก็อาจทำให้บริษัทประกันสามารถบอกเลิกสัญญากรมธรรม์ได้
4.ระยะเวลาไม่คุ้มครอง (waiting period) กระจ่างขึ้น
- ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 30 วัน บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยอาการป่วยทุกกรณีที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 30 วันได้ (นับตั้งแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ หรือประกันสุขภาพเริ่มมีผลบังคับ)
- ระยะเวลาไม่คุ้มครอง 120 วัน บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษา หรือค่าชดเชยจากป่วยจากโรคดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 120 วันได้ (นับตั้งแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ หรือประกันสุขภาพเริ่มมีผลบังคับ)
- เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
- ริดสีดวงทวาร
- ไส้เลื่อนทุกชนิด
- ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
- การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
- นิ่วทุกชนิด
- เส้นเลือดขอดที่ขา
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่
มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ( NEW HEALTH STANDARD ) เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวงการประกันสุขภาพ และดูเหมือนว่าจะเป็นปรับเปลี่ยนที่ส่งผลไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อเราเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นการศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของประกันก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด
ค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความเป็นคุณได้ ที่นี่!!
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : prudential.co.th, prakan-4u.com, msmany.com, คำสั่งนายทะเบียน ที่ 56/2562 , คำสั่งนายทะเบียนที่ 14/25624, คำสั่งนายทะเบียนที่ 55/25624