1 นาที

เงินได้สุทธิ คำนี้สำคัญอย่างไรกับการวางแผนภาษี

แชร์

“เงินได้สุทธิ’ เปรียบเสมือนเป็นสารตั้งต้นสำหรับการเริ่มต้นวางแผนคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วางแผนคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินได้สุทธิมีที่มาที่ไปอย่างไรนั้นบทความนี้จะช่วยอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างเห็นภาพ

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ 

รายได้ (ต่อปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ  

ที่ถูกต้องก็คือนำรายรับทั้งหมดที่ได้มาตลอดทั้งปีไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดให้หย่อนเรียบร้อยก่อน ถึงจะกลายเป็นตัวเลขสุดท้ายที่นำไปคำนวณภาษีได้
หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร ? 
ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ ดังนี้ 
เงินได้สุทธิ
สิทธิหักลดหย่อนมีอะไรบ้าง? 
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีรายได้เท่าไร หักค่าใช้จ่ายอย่างไร และมีสิทธิลดหย่อนอะไรบ้าง เราก็สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณหาเงินได้สุทธิของปีนี้ได้แล้ว หรือถ้าใครคำนวณเองแล้วไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ สามารถลองไปคำนวณได้ที่เว็บยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากรกันได้ตามลิงก์นี้ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/  

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว