“ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุนและการเกษียณ” เป็นหนึ่งรายการลดหย่อนสุดฮิตประจำปี 66 ที่ต้องห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความมั่งคั่ง และช่วยเตรียมพื้นฐานให้คุณได้เกษียณอย่างสำราญแล้ว อีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ดีๆ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ต่างยกนิ้วให้คือ สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรายการลดหย่อนภาษีสำหรับกลุ่มการลงทุน และการเกษียณมีเงื่อนไข และรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุน และการเกษียณ
ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตที่ถูกออกมาเพื่อช่วยสร้างคุ้มครอง และการันตีผลตอบแทนที่จะได้รับทุกปีเมื่อยามเกษียณ ซึ่งจะได้รับเงินคืนตอนช่วงอายุไหนนั้นขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก
ตัวอย่างเช่น นาย noon มีเงินได้ 7,000,000 บาท และจ่ายเบี้ยประกันบำนาญไป 300,000 บาท ซึ่งประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ คือ 1,050,000 บาท แต่กฎหมายกำหนดไว้สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ทำให้ส่วนที่เหลือชายพีร์ต้องนำรายการอื่น ๆ มาช่วยลดหย่อนภาษีร่วมด้วย โดยการใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญมาช่วยลดหย่อนภาษี
เงื่อนไขภาษี
- สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)/ กองทุน RMF/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนบำนาญราชการ(กบข.)/ กองทุนสังเคราะห์ครูเอกชน/กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
- ซื้อได้สูงสุด 200,000 บาท
- กรมธรรม์ประกันต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- บริษัทประกันที่อยู่ในประเทศไทย
- จ่ายผลตอบแทนเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ โดยจะจ่ายเป็นจำนวนที่เท่ากันทุกงวด หรือจะจ่ายเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาก็ได้
- เริ่มจ่ายผลตอบแทนที่อายุ 55 – 85 ปี หรือจะมากกว่านี้ก็ได้
- จ่ายเบี้ยประกันครบก่อนรับผลประโยชน์
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
จัดตั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมในระยะยาวสำหรับไว้ใช่จ่ายในยามที่เกษียณอายุ โดยมีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภท
เงื่อนไขทางภาษี
- สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)/ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนบำนาญราชการ(กบข.)/ กองทุนสังเคราะห์ครูเอกชน/กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
- ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และสามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- ถือกองทุนจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อกองทุนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่ซื้อกองทุนครั้งแรก ปีใดไม่ซื้อก็จะไม่นับ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนบำนาญราชการ(กบข.)/ กองทุนสังเคราะห์ครูเอกชน
เงื่อนไขทางภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ /กองทุน RMF สามารถนำไปลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ สำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายให้นำเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสะสมของลูกจ้างมาใช้ลดหย่อนภาษีเท่านั้น เงินสมทบของนายจ้างไม่สามารถใช้ได้
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
จัดตั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออม โดยกองทุน SSF ออกมาเพื่อทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่สิ้นสุดไปแล้วในปี 2562 นี้ ซึ่งกองทุน SSF มีเงื่อนไขทางภาษีที่แตกต่างจากกองทุน LTF ดังนี้
เงื่อนไขทางภาษี
- สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับกองทุน RMF /กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนบำนาญราชการ(กบข.)/ กองทุนสังเคราะห์ครูเอกชน/กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
- ต้องถือกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ และสามารถนำค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้เป็นระยะเวลา 5 ปี (ปี 2563 – 2567)
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และสามารถซื้อได้สูงสุด 200,000 บาท
- ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ซื้อปีไหนลดหย่อนภาษีนั้น
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน(TESG)
คือกองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินที่ด้านความยั่งยืนหรือสิ่งแวดล้อม โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โดยเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่มี ESG ที่ดี และตราสารหนี้ประเภท ESG Bond
เงื่อนไขทางภาษี
- สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้
- ต้องถือกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และซื้อได้สูงสุด 100,000 บาท
- สามารถซื้อได้ตั้งแต่ปี 2566 ถึงปี 2575 (รวม 10 ปี) ไม่ต้องซื้อต่อเนื่อง
กองทุนออมแห่งชาติ (กอช.)
เงื่อนไขทางภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินปีละ 30,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุน RMF /กองทุน SSF/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนบำนาญราชการ(กบข.)/ กองทุนสังเคราะห์ครูเอกชน หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นแค่กำไรเท่านั้น อย่ายึดติดนำมาเป็นจุดประสงค์หลักในการเลือกลงทุน เพราะอาจทำให้คุณต้องเสียน้ำตาได้ในภายหลัง และอย่าลืมนะครับการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง
หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มการออมและลงทุนไปไม่มากก็น้อย และสำหรับท่านใดที่กำลังวางแผนลดหย่อนภาษีอยู่ และไม่อยากต้องมานั่งปวดหัวกับการคำนวณให้วุ่นวาย เพียงแค่ปล่อยให้ noon ช่วยวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยประกันได้ง่ายๆ เพียง วางแผนลดหย่อนภาษี “คลิก”
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: กรมสรรพากร, set.or.th/education, kasikornasset.com