“ช้อปดีมีคืน 2566” คือมาตรการลดหย่อนภาษีของปี 66 ที่ออกแบบมาเอาใจมนุษย์เงินเดือนสายช้อปปิ้งอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะได้ซื้อสิ่งของที่ต้องการแล้วยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีของปี 66 ได้อีกด้วย ซึ่งเงื่อนไข และรายละเอียดของรายการลดหย่อนภาษี “ช้อปดีมีคืน2566”นั้นจะเป็นอย่างไร และจะคุ้มไหมถ้าใช้เต็มสิทธิเลย เราสรุปมาไว้ในบทความนี้เรียบร้อยแล้ว
Q1: ช้อปดีมีคืนเริ่มใช้สิทธิได้เมื่อไหร่
A1: เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ.2566
Q2: ใครมีสิทธิ์ใช้ "ช้อปดีมีคืน" บ้าง ?
A2: ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
Q3: "ช้อปดีมีคืน" ลดหย่อนภาษีท่าไหร่
A3: ตามที่ซื้อจริง หรือไม่เกิน 40,000 บาท
Q4: เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจาก "ช้อปดีมีคืน
A4: สามารถนำค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายจริงไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2566 โดยการซื้อสินค้า หรือบริการทั้งหมดจะต้องเป็นการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 และต้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบด้วยทุกครั้ง โดยใบกำกับภาษีสามารถขอได้ทั้งแบบกระดาษ และแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Tax Invoice & e-Receipt ) ซึ่งมีเกณฑ์ ดังนี้
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 30,000 บาทแรก จะต้องมีใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษหรือใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 10,000 บาทที่เหลือ จะต้องมีใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น
Q5: สินค้า หรือบริการอะไรบ้างที่เข้าร่วมมาตการ “ช้อปดีมีคืน 2566”
A5: สินค้าหรือบริการที่เข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนมีอยู่ด้วยกันกลักๆ 3 ประเภทคือ
สินค้า/บริการ | ประเภทใบเสร็จรับเงิน |
สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) | ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (กระดาษ) หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt |
หนังสือ และค่าบริการหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ebooks) | ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (กระดาษ) หรือ e-Receipt |
สินค้า OTOP ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน | ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (กระดาษ)/ใบเสร็จรับเงิน (กระดาษ) หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt |
Q6: สินค้า หรือบริการที่ไม่เข้าร่วมมาตการ “ช้อปดีมีคืน”
A6: สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนมีทั้งหมด 18 รายการ ดังนี้
- ค่าสุรา เบียร์ ไวน์
- ค่ายาสูบ
- ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร (ทั้งแบบกระดาษ และอิเล็กทรอนิกส์)
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์
- ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว เช่นเบี้ยประกันชีวิต
- สินค้าหรือบริการที่ไม่มี VAT(ยกเว้นหนังสือกับ OTOP)
- ทองคำแเท่ง
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าทำศัลยกรรม
- ผักผลไม้สด
- เนื้อสัตว์สด
- หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ทางการแพทย์
Q8: คุ้มไหมถ้าอยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจาก “ช้อปดีมีคืน 2566”
A8: คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ายิ่งซื้อเยอะเท่าไหร่ก็จะได้ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วต้องดูด้วยว่าเราเสียภาษีในอัตราภาษีที่เท่าไหร่
ยกตัวอย่างเช่น นาย noon มีเงินได้สุทธิ 300,000 บาท ซึ่งอยู่ในขั้นบันไดอัตราภาษี 5% ซึ่งจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” สูงสุดเพียง 2,500 บาทเท่านั้น ต่อให้จ่ายเงินค่าช้อปปิ้งไปเต็มๆ 40,000 บาทก็ตาม
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี | สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด |
ไม่เกิน 150,000 | 5% | ไม่เสียภาษี ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิ จากมาตรการช้อปดีมีคืน |
มากกว่า 150,000 - 300,000 | 5% | 2,000 |
มากกว่า 300,000 - 500,000 | 10% | 4,000 |
มากกว่า 500,000 - 750,000 | 15% | 6,000 |
มากกว่า 750,000 – 1,000,000 | 20% | 8,000 |
มากกว่า 1,000,000 - 2,000,000 | 25% | 10,000 |
มากกว่า 2,000,000 - 5,000,000 | 30% | 12,000 |
มากกว่า 5,000,000 ขึ้นไป | 35% | 14,500 หรือมากกว่า |
วิธีคำนวณหามูลค่าลดหย่อนภาษีจากมาตการ “ช้อปดีมีคืน 2566”
[เงินได้สุทธิ – 150,000 (เงินได้ที่สรรพากรยกเว้น)] – อัตราภาษี = มูลค่าลดหย่อนภาษี
ของแถมทิ้งท้าย
รายชื่อผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Tax Invoice & e-Receipt ) Click here
จากมาตการ “ช้อปดีมีคืน 2566” หากอยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ให้คุ้มค่า เรื่องแรกที่จำเป็นต้องรู้เลยคือตัวเรานั้นนั้นเสียภาษีในอัตราภาษีที่เท่าไหร่ จะได้ไม่ช้อปเพลินจนเกินสิทธฺ แต่ถ้าใครยังไม่มีแพลนที่จะซื้ออะไร ประกันชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจไม่น้อยเพราะนอกจะได้ช่วยลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาทแล้วยังเก็บไว้เป็นมรดกให้แก่คนที่รักในยามที่เกิดเหตุไม่คาดฝันได้ด้วย