1 นาที

ภาวะลองโควิด-19 หายป่วยที่ไม่ได้แปลว่าหายดี

แชร์

ถึงแม้จะหายป่วย และตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าร่างกายของเราจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม เพราะเชื้อโควิด-19 อาจทิ้งอาการเจ็บป่วยไว้ให้เราต้องเผชิญนานกว่าที่คิด ลักษณะการป่วยเช่นนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะลองโควิด (LONG COVID) ซึ่งผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะลองโควิดมากถึง 87%  

ในขณะที่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King’s College London) เปิดเผยว่าผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงอายุ 60 มักมีภาวะลองโควิดอยู่ที่ 5% และผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงอายุ 20 จะอยู่ที่ราวๆ 1 – 2 % คน ถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นในการพบภาวะลองโควิดจะน้อย แต่ถ้าเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมที่มีมากถึงหลักล้านก็นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย   โดยอาการป่วยเรื้อรังของภาวะลองโควิดที่สามารถพบได้บ่อย มีดังนี้ 


ภาวะลองโควิด


10 อาการของภาวะลองโควิดที่พบบ่อย 


วงการแพทย์ของประเทศอังกฤษได้อธิบายเกี่ยวกับภาวะลองโควิดว่าเป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาจน้อยหรือมากว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยอาการของภาวะลองโควิดที่สามารถพบได้บ่อยมี ดังนี้ 

  1. .อ่อนเพลียเรื้อรัง
  2. เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
  3. หายใจลำบาก หายใจติดขัด
  4. ปวดศีรษะ
  5. สมาธิจดจ่อลดลง ความจำผิดปกติ
  6. ไอ เจ็บแน่นหน้าอก
  7. ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ
  8. ท้องร่วง ท้องเสีย
  9. จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  10. ซึมเศร้า เครียด นอนไม่หลับ
  11. วิตกกังวล
  12. ผลกระทบทางจิตใจหลังเผชิญสถานการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)


สำหรับใครที่เริ่มสงสัยตัวเองนั้นมีอาการภาวะลองโควิดก็ควรรีบเข้ารับการรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้นานจนเรื้อรังก็อาจส่งผลค้างเคียงต่ออวัยวะร่างกายส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ปอดทำงานหนัก ซึ่งค่ารักษาที่เกิดขึ้นอาจกลายเป็นภาระทางเงินที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถแบ่งเบาได้ โดยวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้กันคือ “การทำประกันสุขภาพ”  



มีภาวะลองโควิดสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ 


อย่างที่เราทราบกันดีว่าก่อนการตัดสินใจทำประกันทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ เราต้องศึกษารายละเอียดให้ดี โดยเฉพาะเรื่องข้อยกเว้นที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง เพราะผู้ป่วยภาวะลองโควิดมีความเสี่ยงสูงเรื่องอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งกรมธรรม์ประกันสุขภาพบางตัวอาจไม่คุ้มครอง ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพควรศึกษา และปรึกษากับตัวแทนให้ดีเสียก่อน เราจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจให้สิ่งที่ต้องจ่ายไปในภายหลัง สรุปคำตอบคือ สามารถทำได้ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการประกันภัยของแต่ละบริษัทประกัน แต่โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย 

ค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์และลงตัว



ขอบคุณแหล่งข้อมูล : bbc.com, who.int, cdc.gov, bangkokhospital.comthairath.co.thphyathai.comthainakarin.co.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว