เคยเผลอลืมเงินไว้ที่ไหนซักแห่งไหม เราเชื่อว่าต้องมีบ้างแหละ และเชื่ออีกไหมว่ามีเงินมากกว่า 1 พันล้านบาทถูกหลงลืมไว้กับประกันชีวิต ซึ่งเงินจำนวนนี้เรียกว่า “เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ”
ข้อมูลจากกองทุนประกันชีวิตรายงานว่ามีจำนวนผู้เอาประกันที่มีสิทธิรับเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความทั้งสิ้น 813,637.00 ราย และได้จ่ายเงินคืนไปแล้วเพียง 1,338 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.16 ของจำนวนผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินทั้งหมดเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 62) ซึ่งเหตุผลที่ทำให้มีผู้ไปรับเงินน้อยอาจเป็นเพราะไม่ทราบถึงสิทธิของตนเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีประชาชนคนไทยคนใดต้องเสียสิทธิไปโดยไม่รู้ตัว บทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจเกี่ยวกับ“เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ” มากขึ้น
“เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ” คืออะไร
เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หมายถึง เงินที่ผู้มีสิทธิ (ผู้เอาประกัน ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ หรือทายาทของผู้เอาประกัน) มีสิทธิได้รับตามกรมธรรม์ แต่ถ้าผู้มีสิทธิไม่ได้เรียกร้องขอรับเงินจากบริษัทผู้รับประกันจนพ้นอายุความไปแล้ว (อายุความมีระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิรับเงิน) บริษัทประกันชีวิต ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันชีวิต โดยผู้มีสิทธิสามารถขอรับเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุคืนจากกองทุนได้ภายในเวลา 10 ปี
ทำไมจึงเกิด “เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ” ขึ้น
- บริษัทประกันไม่สามารถติดต่อผู้เอาประกันชีวิตได้ เนื่องจากสาเหตุต่างๆ อาทิเช่น ย้ายที่ อยู่แล้วไม่ได้แจ้งให้บริษัทประกันทราบ
- ผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิต และไม่เคยแจ้งให้ทายาท หรือผู้รับประโยชน์ทราบว่าตนเองนั้นประกันชีวิตไว้ทำให้ผู้รับผลประโยชน์ หรือทายาทของผู้เอาประกันไม่ได้แสดงเจตจำนงเพื่อขอรับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
- ผู้เอาประกันหยุดส่งเบี้ยในช่วงเข้าปีที่ 3 เป็นต้นไป และถึงแม้ว่าการหยุดส่งเบี้ยประกันจะทำให้ความคุ้มครองต้องยุติลง แต่ตัวกรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งผู้เอาประกันส่วนใหญ่มักลืมที่จะทำเรื่องขอเงินคืน
- ผู้เอาประกันลืมนำเช็คที่ได้รับจากบริษัทประกันไปขึ้นเงิน
หมายเหตุ ยิ่งจ่ายเบี้ยประกันนานเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าเงินสดของกรมธรรม์สูงขึ้นเรื่อยๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสิทธิขอรับ “เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ”
การตรวจสอบสิทธิรับเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของกองทุนประกันชีวิต และกรอกข้อมูลเพียงแค่ 3 ข้อเท่านั้น
- เลขประจำตัวประชาชน
- ชื่อผู้เอาประกันชีวิต
- นามสกุลผู้เอาประกันชีวิต
มีสิทธิขอรับ “เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ” แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้มา
ขั้นตอนที่ 1 ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความได้ที่เว็บไซต์ของกองทุนประกันชีวิต
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเอกสาร
- กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขอรับ เตรียมเอกสารดังนี้
- ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันชีวิต (กรณีที่ต้นฉบับสูญหายให้ใช้สำกรมธรรม์ประกันชีวิตและหนังสือแจ้ง
- ความต่อสถานีตำรวจว่ากรมธรรม์เลขที่เท่าไหร่สูญหายไป) หนังสือรับรองบุคคลของผู้เอาประกันภัย(ตามแบบที่กองทุนกำหนด)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกัน
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน
- หนังสือแจ้งหรือยืนยันยอดเงินจากบริษัทประกันชีวิตว่าได้นำเงินเข้าสู่กองทุนแล้ว (ถ้ามี)
- กรณีผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้ขอรับ เตรียมเอกสารดังนี้
- ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันชีวิต (กรณีที่ต้นฉบับสูญหายให้ใช้สำกรมธรรม์ประกันชีวิตและหนังสือแจ้งความต่อสถานีตำรวจว่ากรมธรรม์เลขที่เท่าไหร่สูญหายไป)
- หนังสือรับรองบุคคล ของผู้รับผลประโยชน์(ตามแบบที่กองทุนกำหนด)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันและผู้รับผลประโยชน์
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันและผู้รับผลประโยชน์
- หนังสือแจ้งหรือยืนยันยอดเงินจากบริษัทประกันชีวิตว่าได้นำเงินเข้าสู่กองทุนแล้ว (ถ้ามี)
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน
- กรณีทายาทของผู้เอาประกันเป็นผู้ขอรับ เตรียมเอกสารดังนี้
- ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันชีวิต (กรณีที่ต้นฉบับสูญหายให้ใช้สำกรมธรรม์ประกันชีวิตและหนังสือแจ้งความต่อสถานีตำรวจว่ากรมธรรม์เลขที่เท่าไหร่สูญหายไป)
- หนังสือรับรองบุคคลของทายาทผู้เอาประกัน (ตามแบบที่กองทุนกำหนด)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาท (ทุกราย)
- สำเนาทะเบียนบ้านของทายาท (ทุกราย)
- หนังสือแจ้งหรือยืนยันยอดเงินจากบริษัทประกันชีวิตว่าได้นำเงินเข้าสู่กองทุนแล้ว (ถ้ามี)
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน
- หนังสือยินยอมจากทายาททุกคนให้มารับเงิน (ตามแบบที่กองทุนกำหนด)
- หลักฐานการแจ้งข้อความต่อสถานีตำรวจว่า ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนหรือได้รับมอบหมวยจากทายาททุกคนให้มายื่นคำขอคำ
- สั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก (กรณียื่นขอรับเงินตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป)
- กรณีนิติบุคคลผู้ขอรับ เตรียมเอกสารดังนี้
- ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันชีวิต (กรณีที่ต้นฉบับสูญหายให้ใช้สำกรมธรรม์ประกันชีวิตและหนังสือแจ้งความต่อสถานีตำรวจว่ากรมธรรม์เลขที่เท่าไหร่สูญหายไป)
- หนังสือรับรองบุคคลของผู้เอาประกันภัย(ตามแบบที่กองทุนกำหนด)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกัน
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน
- หนังสือแจ้งหรือยืนยันยอดเงินจากบริษัทประกันชีวิตว่าได้นำเงินเข้าสู่กองทุนแล้ว (ถ้ามี)
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน (แล้วแต่กรณี)
- หนังสือรับรองนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์
- สำเนาบัตรประตัวประชาชนผู้มีอำนาจกระทำการนิติบุคคล
- กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจ เตรียมเอกสารดังนี้
- เอกสารของผู้รับมอบอำนาจ หากรับมอบอำนาจจากผู้เอาประกันก็ให้เตรียมเอกสารตามหัวข้อ “กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขอรับ”
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนต่อ เจ้าหน้าที่ผู้รับแบบคำขอ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพยาน (ในกรณีที่จำนวนเงินที่ยื่นคำขอรับเกินกว่า 50,000 บาท)
ขั้นตอนที่ 3 ติดตามสถานะการยื่นขอรับเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความจากกองทุนได้ที่กองทุนประกันชีวิต
ขั้นตอนที่ 4 รอรับเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุจากกองทุน
หากกองทุนพิจารณาแล้วว่าเอกสารที่ผู้ยื่นคำขอส่งมานั้นครบถ้วนและถูกต้อง ทางกองทุนจะดำเนินการอนุมัติจ่ายเงิน โดยช่องทางการรับเงินมีดังต่อไปนี้
- รับเช็คด้วยตัวเองได้ที่ที่ทำการของกองทุนประกันชีวิต (กทม.)
- รับเช็คด้วยตัวเองได้ที่สำนักงาน คปภ. ส่วนภูมิภาค / จังหวัด
- เงินโอนผ่านเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิได้รับเงิน
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: กองทุนประกันชีวิต, thailandinsurancenews.com, oic.or.th