2 นาที

ทำอย่างไรไม่ให้หมดไฟเมื่อต้อง Work From Home ต่อกันอีกนาน

แชร์

ด้วยสถานการณ์ของโควิด-19 (COVID-19) และพ.ร.ก. ฉุกเฉินมีแนวโน้มว่าจะให้ใครหลายๆ คนต้องทำงานที่บ้านต่อไปอีกนาน
คราวนี้เราก็ต้องมาหาวิธีการปรับเปลี่ยนชีวิตการ “ทำงานที่บ้าน” ให้เป็นระบบและระเบียบมากขึ้นกันไม่ให้เราเครียดจนเกินเหตุและปวดหัวจนเกินไปจากการไม่ได้ออกจากบ้านเลยเพราะ Work From Home อย่างไม่หยุดหย่อน สำหรับบางคนก็สบายใจแต่สำหรับบางคนยิ่งนานก็เหมือนยิ่งถูกดูดพลังจนหมดไฟ เราเลยจะมาเผยเคล็ดลับง่ายๆ ไม่ให้ทุกคนหมดแรงทำงานไปเสียก่อน

Content 1080x1080-01.jpg
ไม่ต้องหน้าอยู่หน้าจอตลอดเวลาเข้างานถึงเวลาเลิกงาน

เมื่อตั้งโจทย์มาว่าคุณต้องอยู่สแตนด์บายด์ตั้งแต่เวลาเท่าไหร่ถึงเวลาเท่าไหร่นั้นทำให้คุณเครียด แต่อย่าลืมเทียบกับการทำงานในออฟฟิศ คุณไม่จำเป็นต้องทำงานตั้งแต่เก้าโมงถึงหกโมงเสมอไป เมื่อถึงเวลาพักเที่ยงก็ต้องพัก เมื่อถึงเวลาเข้าห้องน้ำ หรือพักกายพักใจเล็กน้อยก็ไม่ต้องคิดมากว่ามันคือการอู้งานเพราะไม่มีใครเห็น เราต้องปรับทัศนคติให้เห็นว่าการพักผ่อนขณะทำงานที่บ้านและไม่สแตนด์บายหน้าจอคอมหรือโทรศัพท์ตลอดเวลานั้นไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่อย่างไรก็อย่าละเลยหน้าที่ตัวเองที่ได้รับสั่งการ ทางแก้ปัญหาที่ดีก็คือการระบุในตารางการทำงานของตัวเองหรือปฏิทินไปเลยว่าเวลาไหนเราจะพักเที่ยงและเวลาไหนเราจะพักไปดื่มกาแฟเพื่อให้ร่างกายและสมองได้พักผ่อนรวมถึงเป็นการแจ้งเพื่อนร่วมงานให้ทราบก่อน เพื่อนๆ ก็จะไม่สงสัยด้วยว่าเราหายไปไหนด้วย



Content 1080x1080-02.jpg
ต้องรู้ว่าเวลาไหนที่ไม่เหมาะกับการทำงาน

อีเมลเข้าตอนห้าทุ่มก็ต้องลุกขึ้นมาตอบอีเมลเพราะทำงานที่บ้านแบบนี้ไม่ใช่รูปแบบการทำงานที่ดีต่อจิตใจและร่างกาย นอกจากจะเครียดตลอดเวลาแล้วก็ไม่วายต้องเช็กมือถือ เช็กนาฬิกาตลอดเวลากระทั่งตอนกินข้าว ทั้งเสียมารยาทเวลาทานอาหารกับคนอื่นแล้วก็ยังเสียสุขภาพจิตอีก สิ่งสำคัญที่ต้องแก้ให้ได้คือแยกแยะเวลาให้เป็น เวลาที่เราพักผ่อนแล้วมีงานเข้ามา หากเรื่องไม่ด่วนจริงๆ เราก็ทำธุระส่วนตัวให้เสร็จก่อนแล้วค่อยไปจัดการงาน หรือหากมีงานเข้ามาตอนกลางคืนก็ต้องย้ำเตือนตัวเองเสมอว่าไม่ใช่เวลางานแล้วค่อยตอบตอนเช้าวันถัดไป



Content 1080x1080-03.jpg
เปลี่ยนชุดบ้างเพื่อให้ร่างกายจดจำ

ความจริงแล้วเรื่องการเปลี่ยนชุดที่ไม่เหมือนชุดนอนนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ของการทำงานที่บ้านแต่ก็มีผลทางด้านจิตใจเพราะร่างกายไม่รู้สึกว่ากำลังเปลี่ยนจากบ้านไปเป็นที่ทำงาน หากเราไม่มีการจัดการและวางระบบชีวิตการทำงานที่บ้านอย่างเป็นระเบียบมากพอก็จะทำให้เราเอื่อยและเฉื่อยเพราะเหมือนอยู่บ้าน ดังนั้นหากพบว่าการแยกระหว่างทำงานกับพักผ่อนลำบากก็อาจจะลองเปลี่ยนไปใส่ชุดอื่นที่ไม่ใช่ชุดนอนเพื่อกระตุ้นให้ตัวเองกระตือรือร้นมากว่าปกติดูบ้าง



Content 1080x1080-04.jpg
ทำตามแผนที่วางไว้ให้ได้สม่ำเสมอ

ปัญหาของการทำงานที่บ้านคือการกระตุ้นจากเพื่อนรอบข้างน้อยและบรรยากาศที่ไม่เหมาะกับการทำงาน และเมื่อเราเสียการควบคุมไปไม่ว่าจะทำงานตามตารางไม่ทันหรือตื่นสายมาทำงานไม่ทัน บางครั้งก็ไม่มีคนรู้ว่าเราทำพลาดอะไรไป ไม่เหมือนการไปบริษัท ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องทำคือการย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ ตื่นสายได้แต่ต้องนับว่าการตื่นสายนั้นเป็นการทำงานที่ไม่ “ปกติ” อย่าผ่อนผันให้ตัวเองทำให้นอกตารางเวลามากเกินไปและเมื่อถึงเวลาพักเที่ยงที่ตั้งไว้ก็อย่าลืมไปกินอาหารและพักจริงๆ ไม่อย่างนั้นสุดท้ายแล้วเราก็จะคิดว่าการทำงานที่บ้านคือการ “ทำอะไรก็ได้เวลาไหนก็ดี” ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพจิตของเราเลย



Content 1080x1080-05.jpg
เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการตกแต่งมุมทำงานให้น่าดู

บางครั้งการที่เราไม่อยากทำงานเวลาทำงานที่บ้านก็มาจากเหตุที่ว่ามุมทำงานของเราไม่น่าทำ ไม่ทำให้เราคิดงานออกจนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานในที่สุด สิ่งที่เราคิดเล็กๆ น้อยๆ นั้นก็ต้องใส่ใจให้ดีเพราะสำคัญต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน ยกตัวอย่าง การที่ไฟในห้องมืดไปแล้วทำให้รู้สึกว่าต้องเพ่งสายตามากกว่าปกติแต่เราก็ยังไม่แก้ไขอะไรเพราะคิดว่าทำงานที่บ้านก็แค่เดี๋ยวเดียวเท่านั้น ซึ่งเหตุผลนี้ทำให้ในที่สุดแล้วสายตาเราก็จะล้าง่ายกว่าปกติแล้วทำให้เราปวดหัวปวดตาและพัฒนาไปเป็นโรคที่อาจส่งผลทำให้เกิดอาการ Burn Out ไปในที่สุด



Content 1080x1080-06.jpg
ลดการคอลหรือวิดีโอคอลลงบ้าง

หลายคนเข้าใจผิดว่าการทำงานที่บ้านนั้นต้องวิดีโอคอลตลอดเวลาเพื่อยืนยันว่าเพื่อนร่วมงานทำงานจริงๆ และไม่เถลไถลไปไหนแต่การวิดีโอคอลหรือคอลตลอดนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เหนื่อยใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะการวิดีโอคอลคือการพูดคุยกับคนหลายคนหากคนในทีมเยอะและการประชุมที่ต้องมองเห็นทุกคนพร้อมกันจะทำให้เราต้องใช้สมาธิสูงกว่าการเข้าห้องประชุมธรรมดาที่สามารถเพ่งสมาธิไปหาคนคนเดียวได้ ดังนั้นการคอลตลอดเวลาไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นแต่การพัฒนาความเชื่อใจในตัวเพื่อนร่วมงานต่างหากที่จะทำให้การทำงานที่บ้านลดความตึงเครียดและไม่ทำให้เหนื่อยล้าจนหมดไฟไปในที่สุดได้


อย่างที่เห็นว่าการทำงานที่บ้านให้มีประสิทธิภาพและไม่หมดไฟไปเสียก่อนนั้นไม่ยากแค่ต้องรู้จักวางแผน หากใครรู้สึกเอียนการทำงานที่บ้านแล้วจะลองหยิบยกคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ก็ย่อมได้เสมอ อย่าลืมแวะเข้ามาบอกเราบ้างหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงานที่บ้านว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้างล่ะ

ข้อมูลดีๆ จาก: edition.cnn.com, hbrascend.org

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้