1 นาที

How to ตรวจสอบความมั่นคงของบริษัทประกันด้วย CAR

แชร์

การเพิ่มขึ้นของจำนวนบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย อาจทำให้คนที่กำลังสนใจอยากทำประกันชีวิตต้องคิดหนัก เพราะนอกจากจะต้องพิจารณารายละเอียดความคุ้มครองที่ตอบโจทย์แล้ว การเลือกบริษัทประกันที่จะให้เข้ามาช่วยบริหารเสี่ยงของเราก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน  

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและการเงินที่ผันผวน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทประกันแต่ละที่นั้นมีความสามารถมากน้อยแค่ไหนในการรับประกันภัย ซึ่งเราอาจต้องใช้ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันเป็นเกณฑ์ชี้วัด โดยสามารถดูได้จาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)”  
“อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)”  สามารถบ่งบอกได้ว่าบริษัทประกันที่เราเลือกจะทำประกันชีวิตด้วยนั้นมีฐานะทางการเงินมั่นคงในระดับที่เพียงพอหรือไม่ สามารถฝากผีฝากไข้ได้แค่ไหน 
ขั้นตอนแรก การตรวจสอบสถานะความมั่นคงของบริษัทประกัน ด้วย “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อเปิดดูข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันที่เราสนใจ 
ขั้นตอนที่สอง เลือกดูไฟล์ที่เขียนว่า “รายงานการเปิดเผยข้อมูล” โดยให้เลือกเป็นไตรมาสล่าสุด หลังจากนั้นให้ค้นหาประโยคที่เขียนว่า “ความเพียงพอของเงินกองทุน”  ซึ่งจะมีตารางประกอบอยู่ด้วย หลังจากนั้นให้สังเกตหัวข้อ “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน” ว่ามีสัดส่วนอยู่เท่าไหร่ 
ขั้นตอนที่สาม เปรียบเทียบ “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ CAR” กับเกณฑ์ที่ คปภ.กำหนดไว้ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เกณฑ์ขั้นต่ำของ CAR คือ 140% (ประกาศใช้ในปี 65 ) ยิ่งค่า CAR มีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะหมายถึงมูลค่าเงินกองทุนที่มีอยู่มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และจากสถิติเงินกองทุนตามความเสี่ยง ฯ ของประเทศไทยที่รวบรวมโดย คปภ. ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2021 นี้ บริษัทประกันชีวิตโดยเฉลี่ยแล้วมี CAR อยู่ที่ 329.13%  
ถึงแม้ว่าค่า CAR ของบริษัทประกันนั้นๆ จะสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่ก็ไม่อาจเป็นเครื่องการันตีได้ว่ากรมธรรม์ของเราจะไม่มีโอกาสถูกบอกเลิกจากบริษัทผู้รับประกัน เพราะการที่ผู้เอาประกันทำผิดสัญญาก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ประกันถูกบอกเลิกได้เช่นกัน ดังนั้นการถูกบอกเลิกกรมธรรม์ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีสาเหตุมาจากค่า CAR ต่ำเพียงเดียว ปัจจัยภายนอกอื่นๆ อย่างเช่นภาวะเศรษฐกิจ การตัดสินใจนำของผู้ก็อาจเป็นส่วนที่ทำให้กรมธรรม์ของเราถูกบอกเลิกได้เช่นกัน
แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการถูกบอกเลิกกรมธรรม์ประกันกันนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย ยกเว้นกรณีที่ผู้เอาประกันทำผิดร้ายแรง เพราะคปภ.จะคอยเป็นผู้กำกับดูเรื่องสิทธิประโยชน์ประกันภัยให้แก่พวกเราทุกคน ดังนั้นการที่บริษัทประกันจะขอยกเลิกกรมธรรม์นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก คปภ.เสียก่อน
ยกตัวเช่นกรณีของ สินมั่นคงประกันภัยที่จำเป็นต้องบอกยกเลิกกรมธรรม์โควิด-19 แบบ เจอ จ่าย หรือ โควิด 2 in 1 เนื่องจากภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อโควิดที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงจนคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้  ทั้งๆ ในไตรมาสแรกของปี 2564  สินมั่นคงประกันภัย มีค่า CAR สูงถึง 443.18  แต่สุดท้ายก็ยกเลิกคำสั่งไป เพราะ คปภ.ออกมาประกาศว่าบริษัทประกันไม่สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ได้ เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยทุกคน
หมายเหตุ  หาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ CAR”  ลดลงมาน้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ คปภ. อาจสรุปได้ว่าบริษัทประกันน่าจะเริ่มมีปัญหาทางการเงินจนต้องให้นายทะเบียนเข้าไปกำหนดมาตรการกำกับดูแลสถานะทางการเงินของบริษัทประกันให้เกิดความเหมาะสม 
รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
การตรวจสอบความมั่นคงของบริษัทประกัน ด้วย “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)”  เป็นอีกวิธีตรวจสอบความมั่นคงของบริษัทประกันซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ใช้พิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจในเลือกซื้อประกันชีวิต บริษัทประกันแบบไหนที่เราอยากให้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง เราเท่านั้นคือผู้ตัดสินใจ  


ค้นหาประกันชีวิตที่ใช่ จากตรงนี้ได้เลย



ขอบคุณที่มา :oic.or.th, ratchakitcha.soc.go.th, เพจ Kasidis Suwanampai – กษิดิศ สุวรรณอำไพ, oic.or.th, tgia.org, pptvhd36.com

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน