3 นาที

How to คำนวณภาษีเงินได้เรื่องง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้

แชร์

ใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ประชากรชาวไทยต้องมานั่งปวดหัวกับเรื่องภาษีรายได้บุคคลธรรมดาปี 66 กันแล้ว มือใหม่หัดเสีย(ภาษี) ก็คงเกร็งไม่น้อย เพราะมีอะไรให้ต้องนั่งคิดเต็มไปหมด แต่อย่ากังวลไปเลย เพราะวันนี้เราจะมาแชร์วิธีคำนวณภาษีเแบบฉบับเข้าใจง่ายมาบอกกัน และก่อนที่เข้าสู่พาร์ทคำนวณเรามาทวนความจำกันก่อนดีว่าบุคคลใดมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีบ้าง

Who: ใครมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีปี 66 บ้าง
สำหรับคำถามนี้ทางสรรพากรได้ระบุคำตอบไว้ชัดเจนแล้วว่า “ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีมีหน้าที่ต้องยื่นภาษี” แต่ก็ไม่ใช้ทุกคน เพราะรายได้พึงประมาณต้องถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
บุคคลธรรมดา แบ่งเป็นคนที่มีสถานะโสด และสมรส 
  • สถานะโสด 
มีเงินได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียวรวมแล้วเกิน 120,000 บาทขึ้นไป
มีเงินได้ประเภทอื่น เช่น ค่าคอมมิชชั่น รวมแล้วเกิน 60,000 บาทขึ้นไป
  • สถานะสมรส   
มีเงินได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียวรวมแล้วเกิน 220,000 บาท ขึ้นไป
มีเงินได้ประเภทอื่น เช่น ค่าคอมมิชชั่น รวมแล้วเกิน 120,000 บาทขึ้นไป
 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้รวมแล้วเกิน 60,000 บาท 
 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้รวมแล้วเกิน 60,000 บาท 
หมายเหตุ สรรพากรยกเว้นผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไม่ต้องยื่นภาษี
How: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องคำนวณอย่างไร
Step 1 คำนวณหาเงินได้สุทธิ 
เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินได้ หมายถึง รายได้ หรือรายรับที่เราได้รับมาจากการประกอบอาชีพ หรือกระทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดรายรับ โดยเงินได้ตามกฎหมายที่ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดานั้นเรียกว่า “เงินได้พึงประมาณ” ซึ่งสรรพากรได้นิยามความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประมาณ” ไว้ดังนี้ เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ซึ่งเงินได้นั้นถูกแยกได้ทั้งหมด 8 ประเภท
บทความที่เกี่ยวข้อง ไขข้อสงสัย? รายได้แบบไหนบ้างที่ต้องเสียภาษี
หากเรารู้แล้วว่าเงินได้ต่อปีภาษีของเรานั้นจัดอยู่ในประเภทไหนก็นำไปหักค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายเงินได้แต่ละประเภทนั้นมีลักษณะการหักที่แตกต่างกัน ดังนี้
คำนวณภาษี65
หลังจากที่หักรายจ่ายเรียบร้อยแล้วเราก็นำไปหักลดหย่อนต่อ โดยให้หักค่าลดหย่อนกลุ่มสิทธิติดตัว กลุ่มประกัน กลุ่มการลงทุนและการเกษียณ และกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วค่อยนำส่วนที่เหลือไปหักลดหย่อนกลุ่มบริจาคตามที่กฎหมายกำหนด
“หากเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” แต่ถ้าเกินล่ะก็เรานำให้ไป step ที่ 2 ต่อเลยค่ะ

หมายเหตุ เงินได้บางชนิดก็ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือการฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นต้น อีกทั้งทางสรรพากรยังให้ผู้ยื่นภาษีสามารถหัก “ค่าใช้จ่าย” ได้ 50% ของเงินได้ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เท่านั้นสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนเงินได้ประเภทที่ 3-8 จะมีวิธีหักค่าใช้จ่ายที่ต่างกันออกไป
ตัวอย่างประกอบ
หญิงนูนมีเงินได้จากงานประจำรวมรวมโบนัสแล้ว 400,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 100,000 (50% ของเงินได้รายปี หรือสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท แต่โชคดีเหลือเกินที่บริษัททำประกันสังคมไว้ให้หญิงนูนจึงทำให้สามารถหักค่ากองทุนประกันสังคมได้อีก 9,000 บาท ดังนั้นเงินได้สุทธิของหญิงจึงเท่ากับ 231,000 บาท
คิดง่ายๆ แบบนี้ 400,000 บาท (เงินได้ต่อปี) – 100,000 บาท (ค่าใช้จ่าย) – 60,000 บาท (ค่าลดหย่อน) – 9,000 บาท(กองทุนประกันสังคม) = 231,000 บาท(เงินได้สุทธิ)
Step ที่ 2 หาอัตราภาษี
อัตราภาษีจะแปรผันตรงกับเงินได้สุทธิ ดังนี้
คำนวณภาษี66
Step ที่ 3 คำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = มูลค่าภาษีที่ต้องจ่าย
ตัวอย่างประกอบ
ชายพีร์มีเงินได้สุทธิ 250,000 บาท ซึ่งอยู่ในขั้นบันไดอัตราภาษี 5%  แต่ 150,000 แรกทางสรรพากรยกเว้นภาษีให้ ดังนั้นรายได้สุทธิที่คำนวณใหม่จึงเท่ากับ 100,000 บาท จากนั้นนำไปคูณอัตราภาษีที่ 5% สรุปแล้วชายพีร์ต้องจ่ายภาษีเพียง 5,000 บาท
นี่คือวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(เฉพาะผู้ที่มีเงินได้ประจำเท่านั้น)ฉบับเข้าใจง่าย มั้ง..แต่ถ้าอยากให้เรื่องการคำนวณภาษีง่ายขึ้นอีก เราแนะนำให้เข้าไปลองวางแผนภาษีกับ noon tax ดู เพราะได้ทั้งความสะดวกสบาย รวดเร็ว อีกทั้งยังมีระบบแนะนำแบบประกันดีๆ ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก สบายในสบายค่ะ ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว คลิกเพื่อเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างง่ายกับ noon


ขอบคุณแหล่งข้อมูล: Itax,taxbugnoms, กรมสรรพากร

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน