เชื่อไหม? ปี 2562 ที่ผ่านมาคนไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 340,053 ล้านบาท ต่อ 1 ครัวเรือน นับว่าเป็นมูลค่าหนี้ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย (ข้อมูลจาการสำรวจและสรุปของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) และในอนาคตอาจมีแนวโน้มที่หนี้ครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ
ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นทุกๆ ปีสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยอมเสี่ยงที่จะเป็นหนี้มากขึ้นเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน หากค่านิยมนี้ยังคงถูกสานต่อไปเรื่อยๆ อาจทำให้ชีวิตต้องพบเจอกับวิกฤตด้านการเงินอย่างแน่นอน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ รีบดึงตัวเองออกจากหนี้สินให้ได้ และลองหาเทคนิคการปลดหนี้ในรูปแบบต่างๆ มาปรับใช้ ซึ่งบทความนี้อาจเป็นคำตอบ หรือทางออกที่คุณมองหา
How to ปลดหนี้เร็วทันใจไวดั่งสายฟ้าฟาด
1.ย้ำ และเตือนตัวเองอยู่เสมอ
“กิเลสที่หอมหวาน ย่อมแพ้จิตใจที่เข้มแข็ง” การปลดหนี้ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น นอกจากการวางแผนที่ดีแล้วการคงไว้ซึ่งวินัยอย่างเคร่งครัดย่อมเป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน และหากวันใดรู้สึกท้อขึ้นมาให้จินตนาการถึงวันที่ได้เป็นอิสระจากหนี้สินทั้งหมด หรือจะใช้วิธีบีบหัวใจอย่างการการตั้งภาพหน้าจอโทรศัพท์เป็นรูปรายการหนี้สินก็ได้ รับรองไม่หลุดโฟกัสแน่ๆ
2.ทำบัญชีให้ชัดเจน
แยกรายรับ รายจ่ายให้ดี โดยฉพาะเรื่องรายจ่ายอย่าให้หลุดแม้แต่รายการเดียว ซึ่งรายจ่ายจะต้องแบ่งแยกประเภทให้ชัดเจน อาทิเช่น รายจ่ายเพื่อการกิน-ใช้ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ดี-เสีย รายจ่ายเพื่อการลงทุน รายจ่ายประจำ หรือรายจ่ายเพื่อความบันเทิง เป็นต้น
ตัวอย่างบัญชีรายรับ-รายจ่าย
หมายเหตุ
หนี้ดี หมายถึง หนี้ที่สามารถสร้างรายได้ เช่น หนี้ที่เกิดจากู้ยืมเงินเพื่อไปลงทุนต่อยอดในธุรกิจ เป็นต้น
หนี้เสีย หมายถึง หนี้ที่ไม่สามารถสร้างรายได้ เช่น หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น
นอกจากบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ต้องทำแล้ว “บัญชีหนี้สิน” ก็เป็นอีกหนึ่ง to do list ที่ขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะจะช่วยให้สามารถจัดการกับภาระหนี้สินได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือบอกสถานะความก้าวหน้าของภารกิจเปลี่ยนหนี้สูง ให้เป็นศูนย์ได้ เพราะการเห็นหนี้สินค่อยๆ ลดลงเปรียบเสมือนเป็นเชื้อเพลิงที่คอยขับเคลื่อนให้สามารถก้าวตามฝันได้สำเร็จ
ตัวอย่างการจดบัญชีหนี้
3.ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
หนี้ยังมีทั้งหนี้ดี และหนี้เสีย รายจ่ายก็ย่อมมีทั้งที่จำเป็น และไม่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้นหลังจากที่ทำบัญชีรายรับ -รายจ่ายเรียบร้อยแล้วให้ลองตรวจสอบ และพิจารณาดูว่ารายการใช้จ่ายนั้นจำเป็นหรือเปล่า จำเป็นแค่ไหน สามารถและปรับลดให้ถูกลงกว่านี้ได้หรือไม่
การนำรายการใช้จ่ายมาใส่ตารางแบบนี้จะช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญจะมีเงินเหลือไปปลดหนี้ได้อย่างแน่นอน “ลดไลฟ์สไตล์การใช้เงินที่ไม่จำเป็น เห็นหนี้เป็น 0 อย่างแน่นอน”
4.ปลดหนี้ด้วยทฤษฎี Snowball
ทฤษฎี Snowball คือการทุ่มเงินเพื่อปลดหนี้ในก้อนที่เล็กที่สุดให้หมดเป็นก้อนแรก ซึ่งหนี้ก้อนอื่นๆ ให้จ่ายเป็นขั้นต่ำไป และหากหนี้ก้อนที่เล็กที่สุดถูกปลดหมดแล้วให้นำเงินที่เคยจ่ายยอดหนี้นี้ไปโปะเพิ่มในหนี้ก้อนที่เล็กรองลงมา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถปลดหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดได้ โดยทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีหนี้หลายก้อน และเป็นหนี้ที่มีลักษณะดอกเบี้ยเป็นแบบลดต้นลดดอก เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
หลายคนๆ คนคงรู้สึกขัดใจไม่น้อยกับทฤษฎีนี้ เพราะต่างถูกสอนมาเสมอว่าให้เลือกปลดหนี้ที่มีดอกเบี้ยที่สุดก่อน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร แต่การนำทฤษฎี Snowball เข้ามาช่วยในการการปลดหนี้จะทำให้เป้าหมายดูเป็นรูปธรรมมากมากขึ้น เพราะได้เห็นยอดหนี้ที่ค่อยๆ ทยอยลดลงอย่างชัดเจน
วิธีการปลดหนี้ด้วยทฤษฎี Snowball
ขั้นตอนที่ 1 จดรายการหนี้สินที่มีทั้งหมด พร้อมทั้งจดดอกเบี้ย และจำนวนงวดของหนี้สินด้วย โดยให้เรียงลำดับจากหนี้ก้อนที่เล็กที่สุดไปจนถึงก้อนที่ใหญ่ที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 ปรับเพิ่มยอดหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือน
หลังจากที่จ่ายหนี้ก้อนที่เล็กที่สุดหมดแล้ว ให้ยกยอดจ่ายหนี้ก้อนนั้นมาบวกเพิ่มในหนี้ก้อนที่ 2 และทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนสามารถปิดหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดได้
เท่ากับว่าในงวดที่ 12 นี้ต้องจ่ายหนี้ของก้อนที่ 2 ในอัตราใหม่คือ 19,604.03 บาทจากเดิม 15,000 บาท สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าได้นำเงินที่เคยจ่ายขั้นต่ำของหนี้ก้อนที่ 1 มาบวกเพิ่มด้วยตามหลักทฤษฎี Snowball ซึ่งหนี้ก้อนที่ 3 และก้อนอื่นๆให้จ่ายขั้นต่ำตามเดิมไปก่อน จนกว่าหนี้ก้อนที่ 2 จะหมด และหากปลดหมดแล้วให้ทำซ้ำเหมือนเดิมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถปลดหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดได้
5.หางานเสริม
ในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ การทำงานประจำเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยให้ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น งานเสริมจึงเป็นอีกหนึ่งไม้เด็ดที่คนส่วนใหญ่มักเลือกทำกัน เพราะหากมีรายรับมากขึ้นก็ช่วยให้มีกำลังในการจ่ายหนี้สินที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ลองนั่งคิดทบทวนดูใหดีว่าตนเองนั้นถนัดอะไร และใช้สิ่งนั้นสร้างรายได้เสริมให้แก่ตนเอง หากใครยังนึกไม่ออกลองเข้าไปอ่าน 20 อาชีพเสริม ทำเงินในยุคประหยัด ดูนะ เผื่อจะปิ๊งไอเดีย
6.รีไฟแนนซ์หนี้สิน
หากรู้สึกว่าดอกเบี้ยของหนี้สินที่มีอยู่ชักจะเยอะไปแล้วนะ คุณสามารถขอรีไฟแนนซ์ได้นะ รู้ยัง? ซึ่งการรีไฟแนนซ์นั้นหมายถึงการขอกู้เงินก้อนใหม่ในอัตราดอกเบี้ยถูกลงเพื่อนำไปปิดหนี้ก้อนเก่า ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูง โดยจะทำเรื่องกู้กับธนาคารเดิม หรือธนาคารใหม่ก็ได้แล้วแต่ความพึงพอใจของแต่ละคน ซึ่งสินเชื่อบ้านมักเป็นหนี้ที่คนส่วนใหญ่มักเลือกรีไฟแนนซ์กัน เพราะเป็นหนี้ระยะยาว และมีมูลค่าสูง โดยสินเชื่อบ้านสามารถรีไฟแนนซ์ได้ทุกๆ 3 ปี อยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้เลย เซฟเงินค่าบ้านได้เป็นกองแค่รีไฟแนนซ์
7.ทำประกันชีวิต
หลายๆ คนคงงงว่าการทำประกันชีวิตจะเข้ามาช่วยปลดหนี้ได้อย่างไร เพราะดูเหมือนจะเป็นการเพิ่มรายจ่ายเสียมากกว่า แต่เชื่อหรือไม่ว่าการจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันชีวิตถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า หากในวันใดที่คุณไม่มีโอกาสได้อยู่ปลดหนี้จนหมด ภาระหนี้สินที่ยังคงค้างอยู่ก็จะตกไปอยู่กับคนที่คุณรัก ซึ่งประกันชีวิตจะเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระตรงนี้ และทำให้ครอบครัวของคุณไม่ต้องแบกหนี้สินไว้แต่เพียงผู้เดียว หากกลัวว่าจะเบี้ยประกันจะสูงเกินไปจนไปกระทบกับแผนปลดหนี้ เราแนะนำให้ทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาก่อน เพราะเบี้ยไม่สูง เริ่มต้นเพียงหลักร้อยต่อเดือนเท่านั้น แต่อย่าลืมเลือกทุนประกันให้สอดคล้องกับหนี้สินที่มีด้วยนะ สามารถเข้าไปอ่านเทคนิคการเลือกทุนประกันชีวิตได้ที่ 3 แนวคิดเลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณ
ลองเช็คเบี้ยประกันจากตรงนี้ได้เลย
Infographic – How to ปลดหนี้เร็วทันใจไวดั่งสายฟ้าฟาด
ขอบคุณแหล่งที่มา : bangkokbiznews.com, bot.or.th, medium.com/finstreet, daveramsey.com, thesimpledollar.com