1 นาที

เลือกประกันสุขภาพเด็กอย่างไรให้คุ้มค่าทั้งคุณ และลูกน้อย

แชร์

การเลี้ยงลูกคนนึงนั้นคือความท้าทายสุดหินที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ว่าจะมือเก๊า หรือมือใหม่ต่างต้องพยายามดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อผ่านบททดสอบนี้ไปให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย อย่างที่เราเคยได้ยิน หรือพอทราบกันมาบ้างว่าเด็กน้อยในวัยแรกเกิด จนถึง 12 ปีมีระบบภูมคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์จึงมีโอกาสสูงมากที่จะป่วยเป็นโรคนู้น โรคนี้ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่อย่างเราหลายเท่า   

อาการการเจ็บป่วยของลูกน้อยในแต่ละครั้ง นอกจากจะทำให้พ่อแม่หลายๆ ท่านต้องเจ็บปวดใจแล้ว ในบางครั้งบิลค่ารักษาก็อาจบานปลายจนทำให้ต้องนอนเอามือก่ายหน้าผากไปอยู่หลายค่ำคืน ด้วยเหตุนี้พ่อแม่บางส่วนจึงเลือกที่จะเตรียมพร้อมด้วยการทำประกันสุขภาพเด็กไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ  แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการหาแผนประกันที่ใช่ไม่เคยเป็นเรื่องง่าย เราจึงต้องค่อยๆ คิดอย่างถี่ถ้วน และพิจารณาดูว่าประกันสุขภาพเด็กที่จะทำนั้นผ่านเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้หรือไม่ เพื่อให้ทั้งลูกน้อย และตัวเราได้สิ่งที่ดีที่สุด 


3 เงื่อนไขสำคัญเลือกประกันสุขภาพเด็ก 


เงื่อนไขที่ 1 รายละเอียดความคุ้มครองต้องครอบคลุม 


ปัจจุบันประกันสุขภาพเด็กมีแผนประกันให้เลือกสรรมากมาย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าแผนประกันไหนที่ตอบโจทย์จริงๆ โดยคำตอบนั้นอาจหาได้จากรายละเอียดความคุ้มครองของประกันสุขภาพเด็กแต่ละแผน โดยในเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่อาจต้องทำลิสต์รายการทางสุขภาพที่ลูกน้อยต้องการออกมาให้ชัดเจน หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบดูว่ารายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพเด็กที่เลือกมานั้น ตอบโจทย์ในสิ่งที่เรา และลูกน้อยต้องการได้หรือไม่  


ยกตัวอย่างเช่น ในวัยแรกเกิด จนถึง 1 ขวบ เป็นช่วงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ซึ่งวัคซีนพื้นฐานลูกน้อยจะได้รับการฉีดฟรีเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการฉีดวัคซีนทางเลือก หรือวัคซีนเสริม  อาทิเช่น วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส  วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า คุณพ่อคุณแม่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ครั้งละ 500 – 1,800 บาท ดังนั้นก็อาจจะต้องเลือกทำแผนประกันสุขภาพเด็กที่ครอบคลุมในส่วนของค่าใช้จ่ายสำหรับการฉีดวัคซีนด้วยเพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับกระเป๋าสตางค์ของเรา 



เงื่อนไขที่ 2 สอดคล้องกับงบประมาณที่มี 


คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมต้องการให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุด แต่ในบางครั้งสิ่งที่ดีสุดก็อาจมาพร้อมกับรายจ่ายมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่บางคนต้องการทำประกันสุขภาพเด็กที่มีวงเงินค่าห้อง และค่ารักษาสูงๆ ความคุ้มครองก็ต้องเน้นเยอะไว้ก่อน ถึงแม้ในความเป็นจริงแล้วความคุ้มครองบางด้านก็อาจไม่จำเป็นเลยก็ได้ แต่อย่างที่เขาว่ากันยิ่งเยอะยิ่งดี ซึ่งแผนประกันสุขภาพที่มีรายละเอียดความคุ้มครองหลายๆ ด้าน และวงเงินสูงมากๆ  ค่าเบี้ยประกันก็ย่อมสูงตามเป็นธรรมดา ดังนั้นหากมัวแต่โฟกัสเฉพาะแค่รายละเอียดความคุ้มครองแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีการคำนวณมาก่อนว่าค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายนั้นสมเหตุสมผล หรือสอดคล้องกับแผนการเงินหรือไม่ ผลลัพธ์สุดท้ายก็อาจไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่หวังไว้ เพราะฉะนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพเด็กคุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่าเบี้ยประกันของแผนประกันที่ถูกใจนั้นสอดคล้องกับงบประมาณที่มีหรือไม่ 



เงื่อนไขที่ 3 ความน่าเชื่อถือของบริษัทประกัน 


ความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันอาจจะไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญลำดับต้นๆ แต่ก็เป็นอีก 1 เงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ในการเลือกซื้อประกันสุขภาพเด็ก  เพราะถ้าบริษัทประกันมีความมั่นคง ไม่บิดพลิ้วใส่ และประกอบกับได้ตัวแทนที่ดูแลดี ส่งเรื่องเคลมไวก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องมานั่งเกร็งในตอนที่จะใช้ประกันสุขภาพ อีกทั้งลูกน้อยของเราก็ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่เหมือนกับที่บริษัทประกันได้ให้สัญญาไว้ในกรมธรรม์  


สำหรับการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันนั้นในเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบได้จาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)”  ซึ่งรายละเอียดสามารถอ่านที่บทความนี้ได้เลย How to ตรวจสอบความมั่นคงของบริษัทประกันด้วย CAR 



ขอบคุณแหล่งข้อมูล :livelyme.comkrungsri.comfwd.co.th



“ดูแลสุขภาพลูกน้อยแล้ว อย่าลืมหันกลับมาดูแลตัวเอง“ 


ค้นหา และเปรียบเทียบประกันสุขภาพที่ใช่ 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้