ไฮไลต์
โรงเรียนหลายๆ แห่งเริ่มทยอยเปิดเทอมตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการกันไปบ้างแล้ว แต่ดูเหมือนว่าโควิด-19 ก็ยังไม่แคล้วหายไปจากประเทศไทยแบบ 100% เสียที การเปิดเทอมในครั้งนี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ท้าทาย และอาจทำให้ผู้ปกครองหลายๆ ท่านต้องนั่งกุมขมับ นอนไม่หลับกันไปหลายตลบ
โรงเรียนหลายๆ แห่งเริ่มทยอยเปิดเทอมตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการกันไปบ้างแล้ว แต่ดูเหมือนว่าโควิด-19 ก็ยังไม่แคล้วหายไปจากประเทศไทยแบบ 100% เสียที การเปิดเทอมในครั้งนี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ท้าทาย และอาจทำให้ผู้ปกครองหลายๆ ท่านต้องนั่งกุมขมับ นอนไม่หลับกันไปหลายตลบ
ครั้นจะให้ลูกหลานเรียนออนไลน์อยู่แต่ที่บ้านเพียงอย่างเดียวนั้นก็คงจะยาก เพราะพ่อแม่หลายๆ ท่านก็ต้องกลับไปทำงานที่ออฟฟิศตามเดิมคงไม่มีเวลาเพียงพอที่จะควบคุมดูแลลูกๆ ให้เข้าเรียนตามตารางได้ ประกอบกับการเรียนออนไลน์นั้นยังมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้านที่อาจจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็กๆ ลดน้อยลง
การเปิดเทอมและให้กลับไปเรียนที่โรงเรียนตามเดิมจึงอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตทางการศึกษาของเด็กไทย และพ่อแม่อย่างเราๆ ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม และคอยดูแลลูกๆ ให้ปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19 อยู่เสมอ
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19 ในช่วงเปิดเทอม
ศึกษามาตรการดูแลความปลอดภัยด้านโควิด-19 ของทางโรงเรียน
การศึกษา หรือทราบเกี่ยวกับมาตรการดูแลความปลอดภัยด้านโควิด-19 ของทางโรงเรียนจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนในการดูแลบุตรหลานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่จะคอยช่วยอธิบาย และย้ำเตือนให้เด็กๆ ปฏิบัติตามมาตรการของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ที่อาจจะงอแง เพราะไม่เข้าใจว่าทำไมโรงเรียนต้องให้นั่งห่างจากเพื่อน หรือทำไมต้องสวมใส่หน้ากากอนามมัยอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าผู้ปกครองช่วยอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจมากขึ้น เด็กๆ ก็อาจจะยอมทำตามโดยไม่โยเย
หน้ากากอนามัย เจลแอลกฮอลล์ ของมันต้องมี
เปิดเทอมแบบ new normal แค่ชุดนักเรียนใหม่ หรือเครื่องเขียนครบครันคงยังไม่พอ เพราะเด็กยุคโควิด-19 ของมันต้องมีมากกว่านี้ และนี่คือเช็คลิสต์สิ่งของที่ผู้ปกครองทั้งหลายควรเตรียมติดกระเป๋าของบุตรหลานท่านเอาไว้
– หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
– เจลแอลกอฮอลล์ ผ้าเปียกฆ่าเชื้อโรค
อ่านบทความ “เช็คลิสต์ “ของที่ต้องมี” เมื่อโควิดอยู่รอบตัวฉัน”
กินร้อน ช้อนส่วนตัว ถึงแม้เด็กจะมีแนวโน้มในการติดเชื้อและแพร่เชื้อโควิด-19 น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่จากรายงานของประเทศฝรั่งเศสพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากกลับมาเปิดเทอมอีกครั้ง แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าการเปิดเทอมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองต้องไม่ประมาทเด็ดขาด และควรสอนให้ลูกๆ กิน-ใช้-พกภาชนะส่วนตัวไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแก้ว หรือช้อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้อื่น และที่สำคัญเลยสอนให้ลูกทานอาหารอาหารที่ปรุงสุก ถูกสุขลักษณะอนามัย และครบ 5 หมู่อยู่เสมอเพื่อเสริมสร้างภูมิกันที่ดีให้กับลูกน้อย
ล้างมือให้เป็นนิสัย
เรามักใช้มือสัมผัสกับสิ่งนู้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา เด็กๆ เองก็เช่นกัน หากพวกเขานำมือไปสัมผัสกับสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่ แล้วมาจับใบหน้าต่อก็อาจทำให้เชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายได้อย่าง่ายดาย แต่การล้างมืออย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันเด็กๆ จากการติดเชื้อได้ แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการล้างมือกับเด็กๆ นั้นไม่ถูกโรคกัน พ่อแม่อย่างเราๆ จึงต้องสรรหาวิธีให้ลูกน้อยรักการล้างมือให้ได้ โดยเบื้องต้นผู้ปกครองอาจต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเสียก่อน พร้อมกับบอกข้อดีของการล้างมือ แต่ถ้า ลูกๆ ยังนิ่งเฉยอยู่อีกล่ะก็ อาจต้องดึงระบบแจกรางวัลมาใช้ โดยทุกครั้งที่เขาล้างมือเราก็จะให้ดาว หรือขนมเป็นการตอบแทน จะได้เป็นแรงจูงใจให้ลูกๆ รักการล้างมือ และล้างมือจนเป็นนิสัย
หมั่นสังเกตอาการทางกาย และทางใจ
เด็กเล็กๆ เวลารู้สึกไม่สบายมักไม่ค่อยบอกกับใคร พ่อแม่จึงต้องสวมบทบาทเป็นนักสืบอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ยิ่งต้องหมั่นสังเกตหนักกว่าเดิม หากโชคร้ายติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นมา ก็ช่จะวยให้คุณหมอรักษาลูกน้อยได้ทันท่วงที อีกทั้งยังช่วยให้โรงเรียนสามารถวางแผนจัดการแก้ปัญหาได้รวดเร็วทันใจ
สำหรับด้านจิตใจ เด็กๆ คงรู้สึกอึดอัด และเครียดไม่น้อย เพราะต้องไกลห่างจากเพื่อน และไม่สามารถเล่นด้วยกันได้เหมือนแต่ก่อน ผู้ปกครองต้องคอยหมั่นถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของลูกบ่อยๆ แต่ต้องไม่บ่อยจนน่ารำคาญ และหากพฤติกรรมของลูกแปลกไปจนน่าเป็นห่วงก็อาจจะต้องพาไปพบจิตแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี เพราะสุขภาพจิตดี หมายถึงสุขภาพกายที่ดีตามไปด้วย
โรคภัยไข้เจ็บอาจป้องกันได้ แต่ไม่มีใครไม่เจ็บไม่ป่วย ประกันสุขภาพจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่แบ่งเบาภาระค่ารักษาของเด็กๆ ได้
infographic – เปิดเทอมแล้ว! ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโควิด-19
ขอบคุณที่มา: Officemate, BBC, NPR, Unicef