5 นาที

เคลียร์ให้ชัด!! โควิด-19 รักษาฟรีจริงหรือไม่?

แชร์

นับตั้งแต่วันแรกของการแพร่ระบาดรอบที่ 3 ของเชื้อโควิด-19 จนถึงปัจจุบันก็ดูว่าจะไม่มีท่าทีว่าจะทุเลาลงเลย จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในแต่ละวันที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าถึงวัคซีนที่ยังไม่ทั่วถึง และความอันตรายของโควิด – 19 สายพันธุ์อังกฤษซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ปกติถึง 1.7 เท่า ต่างสร้างความกังวลใจให้แก่ประชาชาชนชาวไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาพยาบาล 
ค่ารักษา และค่าใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโควิด – 19 นั้นต้องยอมรับเลยว่าไม่ใช่น้อยๆ เลย เพราะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นจาการติดเชื้อโควิด-19 บางรายอาจใช้ระยะเวลาเพียง 4 วัน แต่บางรายอาจนานเป็นเดือนๆ หากลองคูณจำนวนวันที่เข้ารับการรักษากับค่ารักษา ค่าห้อง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาจส่งผลให้ความมั่นคงทางการเงินของเราเกิดความสั่นคลอนได้ เพื่อคลายความกังวลใจที่มีทั้งหมด วันนี้ noon ได้สรุปรายละเอียด และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพพื้นฐาน และหลักประกันสุขภาพทางเลือกที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลจากกรณีที่ติดเชื้อโควิด-19 


โควิด-19

ใครมีสิทธิ ตรวจโควิด-19 ฟรีบ้าง

คนที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ดังนี้


  • ตามนิยามผู้สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อาการโควิด-19


  • กรณีสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 หรือไปในสถานที่มีการระบาดมา ซึ่งไม่มีอาการป่วย แต่สงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19

ผู้ที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขดังที่กล่าวไปข้างต้นสามารถไปขอตรวจคัดกรองโควิด- 19  ฟรี!! ได้ที่โรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชนทุกแห่ง และถึงแม้ว่าผลการตรวจของเราจะออกมาเป็นลบไม่ติดเชื้อโควิด-19 เราก็ไม่ต้องเสียค่าตรวจ เพราะทางสปสช.จะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองโควิด-19 แทนเราเอง


โควิด-19
ขอบคุณรูปภาพจาก เพจ สปสช.

การพิจารณาจำแนกผู้ติดเชื้อโควิดตามอาการ



กลุ่มสีเขียว

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการอื่น ๆ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก รัฐแนะนำให้เข่ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และให้ออกจากโรงพยาบาลได้ หากผู้ป่วยแสดงอาการและรักษาตามอาการหายดีแล้ว


กลุ่มสีเหลือง

ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และจำแนกเป็น 2 ลักษณะอาการดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ รัฐแนะนำให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่มีอาการ หรือจนกว่าอาการการจะดีขึ้นอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง จึงจะสามารถออกจากโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดสรรไว้ไห้
  • ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อย ได้แก่
    •  อายุมากกว่า 60 ปี
    • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
    • โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
    • โรคไตเรื้อรัง (CKD)
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • โรคหัวใจแต่กำเนิด
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
    • ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก.)
    • ตับแข็ง
    • ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
    • lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.

รัฐแนะนำให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 14 วัน จนกว่าอาการการจะดีขึ้น       


กลุ่มสีแดง

ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง อาทิเช่นน ปอดบวมที่มีภาวะปอดบวม ปอดอักเสบรุนแรง หรือหายใจลำบาก รัฐแนะนำให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าอาการการจะดีขึ้น 


หลักประกันสุขภาพอะไรบ้างที่ให้คุ้มครองจากโรค “โควิด-19
  1. สิทธิ UCEP COVID-19
  2. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)
  3. ประกันสังคม
  4. สวัสดิการข้าราชการ
รายละเอียดความคุ้มครองจากหลักประกันสุขภาพแต่ละประเภท


กรณีสิทธิ UCEP COVID-19


สิทธิ UCEP


UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษากรณีที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โดยผู้ป่วยวิกฤตจะสามารถดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงแรก หรือจนกว่าจะพ้นวิกฤต


สำหรับสิทธิ UCEP COVID-19 ก็คล้ายๆ กับสิทธิ UCEP แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 จะสามารถเข้ารับการรักษาฟรี้ได้จนกว่าจะรักษาหายตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และหากผู้ป่วยต้องการขอย้ายไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลเอกชน หรือสถานพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายของรัฐ หรือขอใช้สิทธิเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกอาจทำให้ผู้ป่วย หรือญาติต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง


กรณีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง 30 บาท


สิทธิบัตรทอง


1.คุ้มครองค่าตรวจคัดกรองโควิด-19 โดยมีรายละเอียด ดังนี้


สิทธิบัตรทอง


2.หากแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 จะถูกส่งตัวรักษาตามกระบวนการของกระทรวงสาธารณสุขโดยค่ารักษา ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้


ค่าห้อง



ค่าอุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ



ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19

  • จ่ายตามจริง ไม่เกิน 7,200 บาทต่อราย หรือจ่ายชดเชยเป็นยา

หมายเหตุ ในกรณีมีความจำเป็นที่หน่วยบริการต้องใช้ยารักษาผู้ป่วยเกินกว่าอัตราที่กำหนด ให้หน่วยบริการขออนุมัติต่อ สปสช. เป็นรายกรณี


ค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ

  • ค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ จ่ายตามระยะทางจริง
  • ค่า PPE รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาท/ครั้งที่มีการส่งต่อผู้ป่วย





กรณีสิทธิประกันสังคม


โควิด-19


หากผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19 สามารถเข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ หรือในกรณีที่ไม่สะดวกสามารถขอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้เคียง หรือโรงพยาบาลในเครือรัฐได้ทุกแห่ง ซึ่งสามารถเบิกจ่ายได้เป็นกรณีฉุกเฉิน

  1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สามารถขอรับเงินชดเชยกรณีที่ว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานและต้องกักตัว 14 วัน อันเนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเงินว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 90 วัน  
  2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หากมีอาการเจ็บป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19)สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่เลือกโดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นและกรณีฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงได้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ และสามารถขอรับเงินชดเชยกรณีขาดแคลนขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยและต้องหยุดงานตามคำสั่งของแพทย์ได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง(วันละ 80)  
  3. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หากมีอาการเจ็บป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) สามารถเข้ารักษาโดยใช้สิทธิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสามารถขอรับเงินชดเชยกรณีขาดแคลนขาดรายได้อันเนื่องมาจากต้องหยุดพักสูงสุด 300 บาทต่อวัน และได้รับไม่เกิน 90 วัน



กรณีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ



  1. หากผู้มีสิทธิ(ข้าราชการ) หรือบุคคลในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) จนต้องเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและค่าตรวจสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว  
  2. หากผู้มีสิทธิ(ข้าราชการ) หรือบุคคลในครอบครัวได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) และต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของทางราชการจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม ดังนี้
    – ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิค Real time PCR หรือเทคนิคอื่น ๆ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 3,000 บาท ต่อครั้ง
    – ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษา ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 540 บาท ต่อวัน  
  3. ผู้มีสิทธิ(ข้าราชการ) หรือบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) จะได้รับเงินสนับสนุน ดังนี้
    – ค่าห้องพักสำหรับควบคุมดูแลรักษา ในมูลค่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 2,500 บาทต่อวัน
    – ค่ายาในมูลค่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 7,200 บาท 
    – ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ในมูลค่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 740 บาทต่อชุด 
    **กรณีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางจำกัดไม่เกิน 15 ชุดต่อวัน และหากมีอาการรุนแรงจำกัดไม่เกิน 30 ชุดต่อวัน
  4. หากสถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อโคโรนา(โควิด-19) ไปเข้ารับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาลของราชการแห่งอื่น จะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลนอกเหนือจากค่าพาหนะส่งต่อ รายการค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และค่าบริการทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนรถพาหนะส่งต่อในมูลค่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้งที่มีการส่งต่อ

สรุป


สิทธิ UCEP-COVID-19 สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร 30 บาท) สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการทั้งต่าง 4 สิทธิให้คุ้มครองในส่วนของค่าใช้จ่ายตั้งแต่กระบวณการตรวจคัดกรองโควิด-19 ไปจนถึงค่ารักษาพยาบาลต่างๆ จนกว่าตัวเราจจะหายดีจากอาการป่วยด้วยเชื้อโควิด-19 กล่าวโดยสรุปคือผุ้ป่วยโควิด-19 สามารถรักษาฟรีได้โรงพยาบาลรัฐ และเอกชน


แต่การเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนนั้นจะเป็นไปตามสิทธิ UCEP COVID-19 กล่าวคือรักษาฟรีจนจนกว่าจะหายตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หลังนั้นหากผู้ป่วยต้องการย้ายไปโรงพยาบาลเอกชนแห่งใหม่ หรือผู้ป่วยต้องการพักฟื้นในสถานพยาบาลเอกชนแห่งเดิม หรือขอใช้สิทธิเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวก ผู้ป่วย หรือญาติจะต้องรับผิด
ชอบค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลด้วยอาการติดเชื้อโควิด-19 เองทั้งหมด


ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเรามีประกันสุขภาพทางเลือก อาทิเช่น ประกันสุขภาพ ก็อาจช่วยให้เราสบายใจเรื่องค่าใช้จ่ายจากการรักษาโควิด-19 ในสถานพยาบาลของเอกชนมากขึ้น เพราะบริษัทประกันจะช่วยเราแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากใครเริ่มสนอยากมีหลักระกันสุขภาพทางเลือกมาไว้ในครอบครองก็อย่าลืมตามไปอ่านบทความหน้ากันด้วยนะ เพราะเราได้รวบรวมรายละเอียด และข้อมูลสำคัญต่างๆ ของหลักประกันสุขภาพทางมาแชร์ให้ทุกท่านอ่านถึง 3 ประเภทด้วยกัน สุดท้ายอยากบอกกับทุกคนว่า สู้ๆ นะ แล้วเราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน


โควิด-19



ขอบคุณแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง 30 บาท และสิทธิ UCEP COVID-19

thebangkokinsighthfocusbangkokbiznews

nhso, ratchakitcha, thestandard,workpointnews

ratchakitcha.soc.go.th, phoubon.in.th


แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม

เพจประกันสังคม, เว็บไซต์ประกันสังคม

ประกันสังคมกับ COVID-19


แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิข้าราชการ

ประกาศจากกรมบัญชีกลาง, tnnthailand, posttoday, nhso.go.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน

4 ทริคทำอย่างไรให้ได้เงินคืนภาษีไวแบบไม่คาดคิด

ยื่นภาษีไปนานแล้ว แต่ทำไมยังไม่ได้เงินคืนภาษี ไม่อยากพบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ เรา 4 ทริคเด็ดที่อาจช่วยให้คุณได้เงินคืนภาษีไวกว่าที่เคย