2 นาที

IPD (ผู้ป่วยใน) และ OPD (ผู้ป่วยนอก) ในประกันสุขภาพต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนคุ้มกว่ากัน

แชร์

การออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์อาจนำพามาซึ่งร่ายกายที่แข็งแรง แต่ถึงกระนั้นก็ไม่อาจต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้แบบ 100% การทำประกันสุขภาพจึงมักเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกนำมาใช้เพื่อแบ่งเบาภาระค่ารักษา แต่จะสุ่มสี่สุ่มห้าซื้อประกันสุขภาพไปโดยที่ยังไม่เข้าใจคำว่า IPD (ผู้ป่วยใน) และ OPD (ผู้ป่วยนอก) ไม่ได้เด็ดขาด เพราะทั้ง 2 คำนี้เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถซื้อประกันสุขภาพได้ตอบโจทย์มากกว่าที่เคย 
IPD กับ OPD ต่างกันอย่างไร? 


IPD (In Patient department) หรือ “ผู้ป่วยใน” หมายถึง ผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ตามการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น นายนูนต้องเข้ารับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ และต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์ และยังให้รวมถึงการรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแต่เสียชีวิตก่อน 6 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน 


OPD (Out Patient Department) หรือ “ผู้ป่วยนอก” หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล แต่ไม่ต้องนอนพักรักษา สามารถกลับบ้านได้เลย ยกตัวอย่างเช่น นางสาวประกันมีไข้เล็กน้อย และเข้ารับการรักษาตัวที่คลินิกใกล้ๆ ที่ทำงาน โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดาให้รับยาไปทานและกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เป็นต้น 

เลือกแบบไหนคุ้มค่ากว่าระหว่างประกันสุขภาพที่คุ้มครองเฉพาะ IPD หรือ OPD หรือทั้งคู่เลย 

หลักการเลือกประกันสุขภาพ เบื้องต้นอย่าเพิ่งถามหาว่าแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ให้หาคำตอบให้ได้ก่อนว่าตนเองนั้นเหมาะกับแบบประกันสุขภาพลักษณะไหนมากที่สุด โดยอาจเริ่มสำรวจจากความถี่ในการเข้าใช้บริการสถานพยาบาลก่อนก็ได้  

ยกตัวอย่างเช่น 

 ความถี่ในการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ต้องนอนพักรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือไม่? 
นาย A 6 – 10 ครั้ง/เดือน ไม่ ส่วนใหญ่เป็นอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่แค่รับยาทานแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย 
นาย B 1 – 2 ครั้ง/เดือน ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 1 วัน ขึ้นไป 
นาย C 3 – 5 ครั้ง/เดือน มีทั้งต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และสามารถรับยาทานแล้วบ้านได้ ปะปนกันไป 


จากตารางจะพบว่านาย A มีความถี่ในการเข้าใช้บริการสถานพยาบาลมากเป็นอันดับที่ 1 ตามมาด้วยนาย C และนาย B แต่ความถี่ในการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอาจไม่เพียงพอที่จะฟันธงว่าแต่ะคนนั้นเหมาะสมกับประกันสุขภาพแผนใด ต้องดูรูปแบบในการเข้ารับการรักาด้วยว่าเป็นลักษณะใด อาทิเช่น ต้องนอนรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือไม่ เป็นต้น และเมื่อวิเคราะข้อมูลทั้ง 2 ชุดร่วมกันทำให้มีผลัพธ์เป็น ดังนี้  

  • นาย A เหมาะสมกับประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครอง OPD เนื่องจากมีจำนวนครั้งในการเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลบ่อยที่สุด และเป็นการรักษาในฐานะ “ผู้ป่วยนอก” กล่าวคือเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล แต่ไม่ต้องนอนพัก และสามารถกลับบ้านได้เลย 
  • นาย B เหมาะสมกับประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครอง IPD เนื่องจากมีจำนวนครั้งในการเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลค่อนข้างน้อย แต่เป็นการรักษาในฐานะ “ผู้ป่วยใน” กล่าวคือเป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา และพักฟื้นในสถานพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป 
  •  นาย C เหมาะสมกับประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองทั้ง IPD และ OPD เนื่องจากมีจำนวนครั้งในการเข้ารับการรักษาทั้งที่สามารถกลับบ้านได้เลย และต้องนอนรักษาตัวในสถานพยาบาลในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน ดังนั้นนาย C จึงต้องการความคุ้มครองทั้งในฐานะ “ผู้ป่วยนอก” และ “ผู้ป่วยใน” 


ประกันสุขภาพที่คุ้มค่าที่สุด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเบี้ยประกัน หรือบริษัทผู้รับประกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าประกันสุขภาพแผนนั้นๆ ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสุขภาพของเราได้มากน้อยแค่ไหน และหากกำลังรู้สึกว่าทำไมการซื้อประกันสุขภาพดีๆ ซักกรมธรรม์เป็นเรื่องที่ยุงยากจังเลยลองแวะเข้ามาที่ noon.in.th แล้วความวุ่นวายทั้งหลายจะหายไป เพราะเว็บไซต์นี้มีระบบช่วยค้นหาและคัดเลือกแผนประกันสุขภาพภาพที่เหมาะสม และตอบโจทย์ทุกความต้องการ แล้วประกันสุขภาพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป 



ขอบคุณแหล่งข้อมูล : healthmeopd, thailandmasti, smk, rabbitfinance, frank, oic

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้