2 นาที

บ้านหนึ่งหลังเอาไปลดภาษีได้กี่บาท

แชร์

การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคน แต่ถ้ามีสิทธิอะไรที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้คนไทยทุกคนก็พร้อมที่จะน้อมรับ และทำตามเสมอ เพราะเราไม่อยากให้รัฐบาล หรือสรรพากรรู้สึกว่านโยบาย หรือมาตรการต่างๆ ที่ตั้งใจคิดออกมาถูกเมินเฉย เราจึงสนองให้เต็มที่ โดยปี 62 นี่มีรายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่น่าสนใจอยู่หลายตัว แต่ที่ถูกใจผมเป็นพิเศษคือ “นโยบายซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรก”

 

นโยบายซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรกเพื่อลดหย่อนภาษีปี 62 เป็นหนึ่งในมาตรการเด็ดของรัฐบาลที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 200,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ตอนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 62 ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 63

 

เงื่อนไขของนโยบายซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรกเพื่อลดหย่อนภาษีปี 62

  • ต้องเป็นบ้านหลังแรก หรืออสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • ต้องทำการจดทะเบียนและโอนกรรมสิทธิ์บ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เมษายน – 31 ธันวาคม 2562
  • ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอาคารพร้อมที่ดินหรือคอนโดที่อยู่อาศัยมาก่อน
  • ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์หลังแรกอย่างน้อย 5 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ยกเว้นถึงแก่ความตาย หรืออสังหาริมทรัพย์นั้นเสื่อมสภาพทั้งหมด
  • ในกรณีที่ผ่อนดาวน์อยู่ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ ยกเว้นผ่อนดาวน์ไปแล้ว 25% ซึ่งจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา 5 ล้านบาทเท่านั้น

 

 

ใครที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนจากโครงการบ้าน หรือคอนโดหลังแรกสำหรับปีภาษี 62 ได้บ้าง

 

  • ผู้ที่ซื้อบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์หลังแรกโดยไม่จำกัดว่าเป็นมือสอง มือสาม ขอแค่เป็นหลังแรกที่ซื้อ และอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังที่กล่าวไว้ข้างบน

 

  • ผู้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนโครงการบ้านหลังแรกปี 2558 – 2559 (ผู้ที่ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์หลังแรกระหว่าง 13 ตุลาคม 2558 – 31 ธันวาคม 2559 ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดปีละ 120,000 บาท

 

ความแตกต่างของนโยบายซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรกเพื่อลดหย่อนภาษี

 

first home tax deduction

 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ                                  

ผู้ถือกรรมสิทธิ์บ้านหลังแรกจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 20% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมา แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังเข้าใจผิดคิดว่าสิทธิลดหย่อน 20% ทั้งหมดจะเอาให้หักลบได้เต็มๆ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องเฉลี่ยใช้สิทธิเท่าๆ กัน 5 ปี ยกตัวอย่างเช่น

นายนูนซื้อบ้านพร้อมที่ดินมาในราคา 5 ล้านบาท และได้จดทะเบียนพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์บ้านเสร็จสิ้นแล้วในวันที่ 30 เมษายน 2562 ซึ่งนั้นก็แปลว่านายนูนสามารถขอใช้สิทธิหย่อนภาษีสุทธิ 200,000 บาท แต่ต้องใช้สิทธิเฉลี่ยเท่าๆ กัน 5 ปี เท่ากับว่านายนูนสามารถขอใช้สิทธิหย่อนภาษีได้ปีละ 40,000 บาท

 

วิธีคิด

ค่าลดหย่อนภาษีสุทธิ = ราคาบ้าน (สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท) x 20%

ค่าลดหย่อนภาษีต่อปี = ค่าลดหย่อนสุทธิ ÷ 5

 

***กรณีที่กู้ร่วมกันหากทั้ง 2 ฝ่ายมีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีทั้งคู่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามสัดส่วนความเป็นเจ้าบ้าน เช่น ชายพีร์ถือกรรมสิทธิ์บ้านมากกว่าหญิงนูนก็เลยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มากกว่าด้วยเช่นกัน

 

นโยบายซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรกอาจดูเป็นแนวทางที่ดีในการช่วยลดหย่อนภาษี แต่จะคำนึงถึงแค่ปัจจัยเรื่องภาษีอย่างเดียวไม่ได้ คุณต้องมีความพร้อมในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ความพร้อมในเรื่องของรายได้ การซื้อสังหาริมทรัพย์ซักที่หนึ่งต้องมองให้ลึกๆ ค่อยๆ พิจารณา เพราะพลาดเพียงแค่นิดเดียวอาจทำให้รู้สึกเจ็บไปอีกนาน

 

สำหรับใครที่เปลี่ยนใจอยากลองหาวิธีอื่นในการช่วยลดหย่อนภาษี ผมก็มีอีกหนึ่งทางเลือกมาแนะนำกันนั้นก็คือการทำประกันชีวิต ประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท โดยที่ไม่ต้องจ่ายถึงหลักล้านแต่ก็ช่วยเรื่องภาษีได้ไม่ต่างกัน แถมยังช่วยคุ้มครองความมั่นคงทางการเงินให้กับคุณอีกด้วย

 

ขอบคุณที่มาดี๊ดี

rd.go.th, prachachat.net, prop2morrow.com, itax.in.th

 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน