เมื่อทำงานไปซักพัก เราเชื่อเลยว่าหลายๆ คนก็คงรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากเดินทางด้วยรถสาธารณะเป็นแน่ ทั้งปัญหาคนแน่นจนแทบจะไม่มีที่ยืน หรือในบางครั้งรถก็อาจหมดระยะโดยที่เราทันตั้งตัว และอีกสารพัดเรื่องหงุดหงิดใจที่เราต้องเผชิญในทุกๆ วัน ด้วยเหตุนี้คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะซื้อรถยนต์มาใช้ในเดินทางแทนการโดยสารรถสาธารณะ
แต่การซื้อรถยนต์ 1 คัน นอกจากเงินดาวน์ ค่างวดผ่อนรถ และค่าน้ำมันรถแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ อีกที่เราควรเตรียมพร้อมไว้เนิ่นๆ ซึ่งจะมีรายการใช้จ่ายอะไรบ้างนั้น noon ได้รวบรวม และสรุปมาในบทความนี้แล้ว
ซื้อรถยนต์ 1 คันมีค่าใช้จ่ายจำเป็นอะไรบ้าง
1.ค่าจดทะเบียนรถใหม่
โดยปกติแล้วเมื่อออกรถใหม่ป้ายแดงมา เราในฐานะเจ้าของรถยนต์จะต้องรีบดำเนินการจดทะเบียนรถใหม่ภายใน 30 วันทันทีเพราะแผ่นป้ายทะเบียน “ป้ายแดง” เป็นเครื่องหมายพิเศษที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถเท่านั้น ซึ่งจะมีกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าของรถยนต์สามารถใช้ป้ายแดงต่อได้อีกไม่เกิน 30 วัน นับจากวันรับรถ
ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนรถยนต์ใหม่
- อัตราค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
- ป้ายทะเบียนรถ 100 บาท
- ค่าตรวจสถาพรถ 50 บาท
เอกสารสำหรับจดทะเบียนรถยนต์ใหม่
- หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
- หนังสือแจ้งจำหน่ายรถจากบริษัทผู้ผลิต
- หลักฐานการได้มาของรถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาเช่าซื้อ
- หลักฐานการทำประกันภัยตามกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจด ทะเบียนนิติบุคคล และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมตราประทับ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่
- ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนรถที่กรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอเรียบร้อยพร้อมหลักฐาน
- นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ที่งานตรวจสภาพรถยนต์
- ยื่นขอตัดบัญชีรถ ที่ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ อาคาร 2 ชั้น 4 กรมการขนส่งทางบก
- ชำระค่าธรรมเนียมและค่าภาษีประจำปี ที่งานทะเบียนรถ
- รับใบเสร็จรับเงิน แผ่นป้ายทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
หมายเหตุ หากใช้รถป้ายแดงเกินระยะเวลาที่กำหนด จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 ฐานใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียน มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
2. ค่าภาษีรถยนต์
ค่าภาษีรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายประจำปีที่เราจะต้องจ่ายให้แก่กรมขนส่งทางบก โดยรถยนต์แต่ละรุ่นนั้นจะมีค่าภาษีรถยนต์ที่แตกต่างขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด กำลังของเครื่องยนต์ และอายุการใช้งานของตัวรถ
การคำนวณภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งที่มีประเภทการใช้งานแบบทั่วไป เช่น รถเก๋ง 4 ประตู รถกระบะ 4 ประตู ฯลฯ เราจะคำนวณตามความจุกระบอกสูบจริง (ซีซี.) โดยวิธีการคำนวณจะเป็นแบบอัตตราขั้นบันได
อัตราภาษีสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วไม่เกิน 7 คน |
ตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี.) | บาท/(ซีซี.) |
600 (ซีซี.) | 0.05 |
601 – 1,800 (ซีซี.) | 1.50 |
มากกว่า 1,800 (ซีซี.) | 4.00 |
ตัวอย่างการคำนวณ
นาย noon เพิ่งออกรถยนต์มาใหม่ เป็นรถเก๋งจำนวน 4 ที่นั่งและมีความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 1799 ซีซี.
เท่ากับ 600 x 0.05 = 300 บาท
- ขั้นที่ 2 ส่วนเกิน 600 – 1,800 ซีซี.
เท่ากับ (1,799 – 600) x 1.50 = 1,798.5 บาท
ดังนั้น ค่าภาษีรถยนต์ที่นาย noon ต้องจ่ายเท่ากับ 300 + 1,798.5 = 2,098.5 บาท
สำหรับใครที่ซื้อรถมือ 2 การคำนวณภาษีรถยนต์จะแตกต่างออกไป โดยจะต้องนำส่วนลดปีการใช้งานมาคำนวณร่วมด้วย
อัตราภาษีสำหรับรถยนต์มือ 2 ที่นั่งส่วนบุคคลทั่วไม่เกิน 7 คน |
อายุการใช้ | ร้อยละ |
ปีที่ 6 | 10 |
ปีที่ 7 | 20 |
ปีที่ 8 | 30 |
ปีที่ 9 | 40 |
ตัวอย่างการคำนวณ
นาย noon ซื้อรถมือสองมา 1 คันเป็นรถกระบะที่มีการใช้มาแล้ว 6 ปี และมีความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 5,000 ซีซี.
- ขั้นที่ 1 1,800 ซีซี. แรก
เท่ากับ 1,800 x 1.5 = 2,700 บาท
- ขั้นที่ 2 ส่วนเกิน 1,800 ซีซี.
เท่ากับ (5,000 – 1,800) x 1.50 = 12,800 บาท
- ขั้นที่ 3 ส่วนลดอายุการใช้งาน 10%
(2,700 + 12,800) *10% = 1,550 บาท
ดังนั้น ค่าภาษีรถยนต์ที่นาย noon ต้องจ่ายเท่ากับ (2,700 + 12,800) – 1,550 = 13,950 บาท
3.ค่า พ.ร.บ. รถยนต์
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับ คือประกันรถทุกชนิดทุกประเภทที่เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศจำเป็นต้องทำ เนื่องจากเป็นข้อบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท พ.ร.บ.รถยนต์ให้คุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากรถยนต์คันที่ได้ทำพ.ร.บ รถยนต์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
ประเภทรถยนต์ | เบี้ยรวม |
รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) | 645.21 บาท |
รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (ปิคอัพ) | 967.28 บาท |
4.ค่าประกันรถยนต์
ประกันรถยนต์ หรือประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คือเครื่องมือที่จะแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษา หรือค่าซ่อมแซมรถ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมในส่วนนี้ โดยเบี้ยประกันรถยนต์นั้นมีตั้งแต่ระดับหลักพัน ไปจนถึงหลักหมื่น ขั้นอยู่กับชั้นของประกันรถยนต์ และรุ่นของรถยนต์ที่เราจะทำประกัน
คลิกเพื่ออ่านบทความเกี่ยวกับประกันรถยนต์ click
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : matichon.co.th, itax.in.th, dlt.go.th, tidlor.com, oic.or.th