1 นาที

เงื่อนไขสำคัญอะไรบ้างที่ต้องรู้ก่อนใช้ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี

แชร์

ใกล้หมดเวลาวางแผนลดหย่อนภาษีประจำปี  66 แล้ว สำหรับผู้เสียภาษีคนไหนทีต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วระยะเวลา ตลอดชีพ สะสมทรัพย์ หรือแบบบำนาญ ทุกครั้งก่อนกดยื่นภาษีอย่าลืมเช็คเงื่อนให้ดีว่าประกันชีวิตที่จะนำใช้ลดหย่อนภาษีนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดหรือไม่ เพราะไม่งั้นอาจพลาดสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตที่ควรจะพึงมีไปอย่างฟรีๆ  

เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ก่อนใช้ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี 
สำหรับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะตามประเภทของประกัน ดังนี้ 
ประเภทประกันชีวิตทั่วไป ได้แก่ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา แบบตลอดชีพ และแบบสะสมทรัพย์ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริงต่อปี หรือสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท  
เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ 
1.กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป 
2.ต้องทำประกันชีวิตไว้กับผู้รับประกันที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย 
3.หากกรมธรรม์มีการจ่ายเงินปันผล หรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา  
  • กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี  
  • หากได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนเป็นแบบช่วงระยะเวลา เช่น ทุกๆ 3 ปี หรือทุกๆ  5 ปี ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตที่สะสมในแต่ละช่วง 
หมายเหตุ สัญญาเพิ่มเติมที่ซื้อเพื่อขยายความคุ้มครองจากกรมธรมธรรม์ประกันชีวิตตัวหลักไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 
ประเภทประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสีย หรือสูงสุด 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุน RMF/กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนบำนาญราชการ(กบข.)/ กองทุนสังเคราะห์ครูเอกชน หรือกองทุนการออมแห่งชาติแล้วสามารถนำไปหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี 
เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ 
  1. กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป 
  2. ต้องทำประกันชีวิตไว้กับผู้รับประกันที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย 
  3. มีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน และต้องจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องจ่ายเท่ากันทุกงวด หรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกัน   
  4. มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญที่ชัดเจน กล่าวคือ บริษัทผู้รับประกันจะต้องเริ่มจ่ายเงินบำนาญให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีอายุตั้งแต่ 55 ไปนจนถึงอายุ 85 ปี หรือจะมากกว่านี้ก็ได้ 
ใครที่มีประกันชีวิตไว้ในครอบครองแล้วก็อย่าลืมตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ให้ดีก่อนยื่นนะ และที่สำคัญอย่าลืมแจ้งขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตกับทางตัวแทน หรือบริษัทประกันด้วย เพราะไม่งั้นอาจเสียสิทธิไปแบบไม่ทันรู้ตัว และสำหรับคนที่กำลังมองแผนประกันชีวิตที่จะช่วยให้ทั้งประหยัดภาษี และสร้างความคุ้มครองให้คนที่รักไปด้วยในตัว noon อาจเป็นคำตอบ
ด้วยระบบการวิเคราะห์ที่แม่นยำ และเป็นปัจเจก ซึ่งจะช่วยให้สามารถค้นหาแบบประกันที่ตอบโจทย์กับความต้องการของเราได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังมีระบบช่วยเปรียบเทียบแบบประกันจากหลากหลายแหล่งเพื่อให้ทุกๆ คนได้ค้นพบประกันชีวิตที่คุ้มค่าที่สุด หากสนใจสามารถเข้าไปที่ www.noon.in.th ได้เลย 


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : rd.go.th, finnomena.com

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว