2 นาที

ฉีดวัคซีนแล้วแพ้ จะได้ชดเชยอะไรบ้าง

แชร์

ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน เป็นต้นไปประเทศไทยจะเริ่มระดมฉีดวัคซีนกันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าจะฉีดให้ได้ 70% ของประชากรทั้งหมด หรือราวๆ 50 ล้านคน และเพื่อลดความกังวลใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้ออกนโยบายเยียวยาประชาชนที่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังจากฉีดวัคซีน โดยมีรายละเอียดดังนี้

รายละเอียดมูลค่าการเยียวยาแพ้วัคซีนโควิด-19
ความคุ้มครอง มูลค่าเงินเยียวยาเบื้องต้น 
การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ไม่เกิน 400,000 บาท/ราย
สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ ไม่เกิน 240,000 บาท/ราย
บาดเจ็บ หรือบาดเจ็บต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท/ราย

เงื่อนไขคุ้มครองการแพ้วัคซีนโควิด-19
  • ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมของรัฐบาลเท่านั้น
  • ความคุ้มครองนี้เป็นการชดเชยความเสียหายเบื้องต้น กล่าวคือไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดจนจบกระบวนการว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากวัคซีนหรือไม่ เมื่อใดก็ตามที่ฉีดวัคซีน แล้วเกิดอาการข้างเคียงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ถึงแม้ว่าแพทย์จะระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเรื่องอื่น แต่หากสงสัยว่าอาการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตนั้นจะเกี่ยวข้องกับวัคซีน ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเยีวยาเบื้องต้นได้เลย




ขั้นตอนการยื่นเรื่องขอรับเงินเยียวยาแพ้วัคซีนโควิด-19
  • หากพบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์/เสียชีวิต หลังจากการฉีดวัคซีนให้ “กรอกแบบฟอร์ม” พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน/ใบความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษาและการหยุดงาน/กรณีเสียชีวิต ต้องแนบใบมรณบัตรของผู้รับบริการฉีดวัคซีนไปด้วย หลังจากนั้นให้ดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้น” ไปที่
    • หน่วยบริการใกล้บ้าน
    • สาธารณสุขประจำจังหวัด
    • สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่

หมายเหตุ ต้องยื่นคำร้องภายใน 2 ปี หลังจากทราบว่าพบบอาการไม่พึงประสงค์ หรือเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนโควิด-19


  • รอพิจารณาผล และอนุมัติจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย หรือญาติภายใน 5 วันหลังมีมติ
  • หากไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาสามารถยื่นอุธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งผลพิจารณาได้ที่
    • สาธารณสุขประจำจังหวัด
    • สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่




นอกเหนือจากการเยียวยาขั้นพื้นฐานจากรัฐบาลแล้ว ก็ยังมีการเยียวยาทางเลือกที่สามารถเลือกเข้ามาเสริมได้อีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตที่จะจ่ายเงินชดเชยให้ทันทีเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ประกันสุขภาพ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาในกรณีที่ต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการไม่พึงประสงค์หลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 และประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 ที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ


ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 เป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพแบบเฉพาะโรค ซึ่งให้การคุ้มครองคุ้มครองผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาทิเช่น ค่ารักษาพยายาบาลผู้ป่วยใน ค่าปลอบขวัญในกรณีที่เข้ารับการรับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 วัน หรือค่าดเชยในกรณีที่เจ็บป่วยระยะสุดท้าย และ/หรือ ภาวะโคม่า และ/หรือ ภาวะสมองตายและระบบประสาทล้มเหลว เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดความคุ้มครองจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน


เปรียบเทียบประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด 19


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


สรุป การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นอีกทางออกที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามสถานการณ์การแพร่ของไวรัสโควิด-19 ได้เร็วขึ้น แต่ถึงกระนั้นหลายๆ คนก็ยังรู้สึกเป็นกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งรัฐเองก็ได้เตรียมแนวทางรับมือ และคลายความกังวลดังกล่าวด้วยมาตรการเยียวยาขั้นพื้นฐานที่กล่าวไปในตอนต้น


แต่สำหรับใครที่ต้องการสร้างหลักประกันสุขภาพ และชีวิตให้แข็งแก่งกว่าเดิม ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 ก็ดูเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะเบี้ยไม่สูงมากนัก มีตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักพัน และที่สำคัญจ่ายเบี้ยครั้งเดียวจบ ไม่มีข้อผูกมัดระยะยาว อย่างไรก็ตามก่อนเลือกซื้อประกันทุกครั้ง ไม่ว่าจะประกันอะไรก็ตามแต่อย่าลืมศึกษารายเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขข้อยกเว้นต่างๆ ให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงซื้อประกันที่ไม่ตอบโจทย์



ขอบแหล่งข้อมูล

who.int, gnews.apps.go.th, hfocus.org, bangkokbiznews.com, prachachat.net, cdc.gov, bangkokinsurance.com, who.int

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน