1 นาที

รู้หรือไม่ ยกเลิกประกันชีวิต คุณอาจมีสิทธิ์โดนภาษีย้อนหลัง

แชร์

ประกันชีวิตเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่กฎหมายกำหนดให้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางการเงินเกิดขึ้นก็อาจทำให้หลายๆ คนมีรายได้ที่ลดลงจนไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี หรืออาจมีความจำเป็นอื่นๆ ที่ทำให้ต้องเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนกำหนด ซึ่งการยกเลิก หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนเกณฑ์เวลาที่สรรพากรได้กำหนดไว้ อาจทำให้คุณมีสิทธิ์โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังแบบไม่รู้ตัว 


ยื่นภาษี


ทำไมการยกเลิก หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนครบกำหนด 10 ปีถึงอาจโดนภาษีย้อนหลัง 
ตามมาตรา 27 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ได้กำหนดไว้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ต้องมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 
  • กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป กล่าวคือต้องมีกำหนดระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัย 10 ปีขึ้นไป หรือมีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นๆ ต้องทำกับบริษัทประกันที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น 
  • การจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้  
  • กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ผลประโยชน์ตอบแทนคืนต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันรายปีหรือสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลา หรือสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน 
ดังนั้นเมื่อเรายกเลิก หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนจะครบกำหนดชำระเบี้ยประกันตั้งแต่ 10  ปีขึ้นไป จึงเท่ากับว่าเราทำผิดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนดไว้ ซึ่งส่งผลให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาย้อนหลังเพิ่มเติมของปีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากกรมธรรม์ประกันชีวิต เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมพร้อมทั้งจ่ายเบี้ยปรับเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร* 
สรุป ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตประเภทใดก็ตามแต่ การยกเลิก หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนชำระเบี้ยครบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปก็อาจทำให้เราสิทธิทางภาษีไปอย่างสูญเปล่า     
หมายเหตุ *มาตรา 27   บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่างๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ 
ในกรณีอธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง ไม่ว่าภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้นจะเกิดจากการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาของศาล 


ยื่นภาษี



ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ,  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)rd.go.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน

4 ทริคทำอย่างไรให้ได้เงินคืนภาษีไวแบบไม่คาดคิด

ยื่นภาษีไปนานแล้ว แต่ทำไมยังไม่ได้เงินคืนภาษี ไม่อยากพบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ เรา 4 ทริคเด็ดที่อาจช่วยให้คุณได้เงินคืนภาษีไวกว่าที่เคย