1 นาที

ทำความเข้าใจซักนิดก่อนซื้อประกันสูงวัย

แชร์

ปัจจุบันนี้เรามีประกันมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัยวัย โดยเฉพาะประกันสูงวัยที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เหล่าวัยเก๋าทั้งหลาย ซึ่งจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

ในอนาคต โดยในปี 62 นี้ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 17 และภายใน 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยของเราจะเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นการมีผลิตภัณฑ์อย่างประกันสูงวัยจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีควรค่าแก่การลงทุนให้กับวัยเก๋าทั้งหลาย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันสูงวัยหญิงนูนอยากให้ทุทำกคนความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตัวนี้เสียก่อนจะได้ไม่มานั่งเสียใจในภายหลัง

 

ประกันสูงวัยคือ ???

ผลิตภัณฑ์เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองวัยเก๋าตั้งแต่อายุ 50 – 70 ปี และไม่ต้องตรวจสุขภาพและตอบคำถามสุขภาพ เพราะในช่วงวัยนี้ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ และชีวิตค่อนข้างสูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากไปทำประกันชีวิต สุขภาพ หรืออุบัติเหตุ ก็อาจทำให้เบี้ยประกันที่จ่ายต้องสูงมาก หรืออาจโดนปฏิเสธไม่รับทำประกันก็เป็นได้

 

เงื่อนไขของประกันสูงวัย

1.ทำได้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 -70 ปีเท่านั้น 

2.ไม่ต้องตรวจและตอบคำถามสุขภาพ

3.จ่ายเงินผลประโยชน์เฉพาะกรณีเสียชีวิตเท่านั้น

4.กรณีที่เสียชีวิตภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่อนุมัติกรมธรรม์จะจ่ายเงินผลประโยชน์เนื่องจาก 2 สาเหตุ ดังนี้

สาเหตุที่ 1 เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเงินที่ได้รับ = เงินเอาประกันเต็มจำนวน + เบี้ยที่จ่ายไปแล้ว + เงินอีก 2- 5%

สาเหตุที่ 2 เสียชีวิตด้วยโรคเงินที่ได้รับ = เบี้ยที่จ่ายไปแล้ว + เงินอีก 2- 5%

 

5.ในกรณีที่เสียชีวิตหลัง 2 ปีนับตั้งแต่วันที่อนุมัติกรมธรรม์บริษัทประกันจะจ่ายเงินผลประโยชน์เต็มจำนวนทุกสาเหตุ

เป้าหมายการทำประกันสูงวัย

เนื่องจากประกันสูงวัยจะมีความคล้ายคลึงกับประกันชีวิตคือจะมีการจ่ายเงินให้ตอนที่เสียชีวิตแล้วเท่านั้น หากคาดหวังเรื่องแบ่งเบาภาระค่ารักษาก็อาจจะต้องผิดหวัง เพราะเขาไม่ใช่ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุที่มีจุดประสงค์ในการช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นเป้าหมายของการทำประกันสูงวัยก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปมองในเรื่องของการคุ้มครองความเสี่ยง หรือเก็บไว้เป็นเงินมรดกให้แก่คนข้างหลัง หญิงนูนแอบกระซิบนิดนึงว่า ถ้าส่งมอบเงินมรดกตอนที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องเสียภาษี 5% แต่ถ้าส่งมอบผ่านประกันชีวิตจะไม่ต้องเสียภาษีนะจะบอกให้

 

เบี้ยประกัน

เบี้ยประกันที่เราจะจ่ายนั้นสัมพันธ์กับวงเงินประกันที่เราเลือก หากเลือกวงเงินประกันที่สูงก็จะส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันนั้นสูงตามไปด้วย แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาก็คุ้มค่าเหมือนกันเพราะเงินเอาประกัน และความคุ้มครองก็สูงตามเช่นเดียวกัน

 

อย่างไรแล้วก็ตามทุกครั้งที่เพื่อนๆ จะเลือกซื้อ หรือทำประกันซักตัวหญิงนูนก็อยากให้ทุกคนอ่านเงื่อนไขต่างๆ ให้ดีๆ อย่าด่วนตัดสินใจ คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของกรมธรรม์ ความพร้อมในการจ่ายเบี้ย และความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้รับมา เพราะอย่างที่เราเห็นกันประกันสูงวัยส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณาผ่านโทรทัศน์ หรือเป็นการโทรเข้ามาขายอาจทำให้ได้รับข้อมูลมาไม่ครบ หรือบางทีเจ้าหน้าที่ก็พูดเร็วจนเกินไปผสานกับศัพท์ที่ยากจนอาจทำให้เรา หรือผู้สูงวัยสับสนได้ ทางที่ดีควรซื้อผ่านตัวแทนน่าจะดีกว่า เพราะจะได้มีโอกาสซักถามกับตัวแทนได้โดยตรงเพื่อประโยชน์ของตัวท่าน และคนที่ท่านรัก 

 

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว