1 นาที

ความแตกต่างระหว่างประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา และแบบตลอดชีพ

แชร์

หากจะเริ่มทำประกันชีวิตอย่างหนึ่ง ทุกคนจะเลือกทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term life) หรือ แบบตลอดชีพ (Whole life)แล้วทราบหรือไม่ว่าประกันสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยของใครหลายคนเกี่ยวกับประกันชีวิตสองแบบนี้กัน

เปรียบเทียบประกันชีวิต
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา หรือ Term Life Insurance
  1. ระยะเวลา: ให้ความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดตั้งแต่ 5 ปี 10 ปี 20 ปี และจะสิ้นสุดลงหากเมื่อพ้นระยะเวลาคุ้มครองผู้ถือกรมธรรม์ยังมีชีวิตอยู่
  2. เบี้ยประกันภัย: มีทั้งแบบเพิ่มขึ้นทุกปีและแบบคงที่ตลอดอายุกรมธรรม์ เบี้ยเริ่มต้นต่ำกว่าประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
  3. ผลประโยชน์หลังเสียชีวิต: จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้กับผู้รับผลประโยชน์ ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตเท่านั้น จะไม่จ่ายให้เมื่อผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา
  4. มูลค่าเงินสด: ไม่มี
  5. เหมาะกับใคร: ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองแต่มีงบไม่มาก ผู้มีภาระหนี้สิน มีความเสี่ยงในชีวิตสูง
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือ Whole Life Insurance
  1. ระยะเวลา: ให้ความคุ้มครองระยะยาว อาจจะตลอดชีวิตหรือถึงอายุ 80-90 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์
  2. เบี้ยประกันภัย: เบี้ยเริ่มต้นหลักหมื่น ยิ่งมีอายุมากยิ่งเบี้ยแพง
  3. ผลประโยชน์หลังเสียชีวิต: จ่ายเงินให้หากผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา หรือหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างสัญญาบริษัทประกันจะจ่ายเงิน 100% ให้แก่ผู้รับประโยชน์
  4. มูลค่าเงินสด: เหมือนเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง เมื่อได้รับเงินประกันก็ไม่ต้องไม่เสียภาษีมรดก สามารถกู้เงินจากกรมธรรม์ หรืออาจจะเอาเงินออกมาใช้ได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
  5. เหมาะกับใคร: ผู้ที่ต้องการหลักประกันชีวิตในระยะยาว ผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินหรือแผนมรดกสำหรับอนาคต
สรุปแล้วการเลือกประกันชีวิตสักอย่างขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงิน ความต้องการ และสถานการณ์ของแต่ละบุคคล ความคุ้มครองแบบชั่วระยะเวลาค่อนข้างเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชั่วคราวในราคาที่สามารถเอื้อมถึงได้ ในขณะที่แบบตลอดชีวิตเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนชีวิตในระยะยาว หรือต้องการสิทธิประโยชน์ทางการเงินที่จะได้จากแบบประกัน

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว