เชื่อหรือไม่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อาจไม่ใช่บทเรียนสุดท้ายที่มนุษยชาติต้องเตรียมรับมือ
โรคอุบัติใหม่ หรือการคืนชีพกลับมาของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากอุณหภูมิของเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้น้ำแข็งอาร์กติกค่อย ๆ ละลายและไปปลดปล่อยไวรัสและแบคทีเรียในยุคหลายพันปีก่อนให้คืนชีพกลับมาอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนั้นอาจไม่สามารถต้านทานต่อเชื้อโรคยุคโบราณเหล่านั้นได้ (greenpeace.org)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 65 มีการค้นพบการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นอีกโรคระบาดที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง รวมถึงประเทศไทยด้วย ถึงแม้ว่าปัจจุบันโรคฝีดาษลิงจะยังไม่มีการค้นพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย แต่หลายๆ คนก็เริ่มเป็นกังวลแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำประกันสุขภาพไว้ ผู้เอาประกันหลายคนเริ่มมีคำถามแล้วว่าประกันสุขภาพที่ทำไว้จะคุ้มครองครอบคลุมโรคฝีดาษลิงหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องประกันสุขภาพ เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษกันซักนอก่อนดีกว่าว่าโรคฝีดาษลิงนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และมีอาการอะไรบ้างที่ต้องเป็นกังวล
โรคฝีดาษลิงเกิดจากอะไร
โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ โดยเชื้อไวรัสชนิดนนี้สามารถสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
ปัจจุบันโรคฝีดาษลิงยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษสามารถช่วยป้องกันได้ 85%
อาการของโรคฝีดาษลิง
ระยะที่ 1 ระยะฟักตัว
- ไม่แสดงอาการช่วง 5 -21 วันหลังจากได้รับเชื้อ
ระยะที่ 2 ระยะไข้ 1- 4 วัน
- มีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย เจ็บคอ หนาวสั่น และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
- อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
ระยะที่ 3 ระยะผื่น 2 -4 สัปดาห์
- มีตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ
ระยะที่ 4 ระยะฟื้นตัว
- อาการจะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ อาจใช้เวลาหลายวัน จนถึงหลายสัปดาห์
รู้จักกับโรคฝีดาษลิงกันไปพอสมควรแล้ว ทีนี้ก็ถึงคิวไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการคุ้มครองของประกันสุขภาพกับโรคฝีดาษลิง อย่างที่ทราบจากข้อความข้างต้นว่ายังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ ทำให้ต้องเป็นการรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องย้อนกลับมาดูว่าประกันสุขภาพที่เรามีนั้นคุ้มครองอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หากเราป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงและต้องเข้ารับการรักษาตัวแบบผู้ป่วยใน เราก็กางกรมธรรม์ออกมาดูเลยว่ามีความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาแบบ IPD หรือผู้ป่วยใน เช่นค่ารักษา ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการการพยาบาล และค่าห้องผู้ป่วยหนัก หรือไม่ หากมีระบุไว้ชัดเจนก็สามารถเบาใจเรื่องค่ารักษาไปได้เลย เพราะประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่ารักษาให้แก่เรา
สำหรับใครที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ และต้องการมองหาประกันสุขภาพดีๆ ไว้ช่วยแบ่งภาระให้กับกระเป๋าตังค์แล้วล่ะก็ อย่าลืมแวะมาที่ noon.in.th นะ เพราะเรามีประกันสุขภาพดีๆ มากมาย รอให้ทุกคนเข้าไปค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันที่ใช่กันแบบเรียลไทม์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการอย่างแน่นอน
ขอบคุณที่มา : paolohospital.com, greenpeace.org, sikarin.com, rama.mahidol.ac.th, prachachat.net, oic.or.th/th