1 นาที

น้ำท่วมบ้านเสียหายหนัก เคลมประกันภัยบ้านอย่างไรดี

แชร์

ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมเฉียบพลันเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถสร้างความสูญเสีย และความเสียหายให้กับตัวเรา และทรัพย์สินได้อย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะความเสียที่เกิดขึ้นกับ “บ้าน”  หลายๆ คนจึงเลือกที่จะทำ ประกันอัคคีภัย หรือประกันภัยบ้าน ไว้มาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งรายละเอียด และเงื่อนไขความคุ้มครองโดยทั่วไปของประกันภัยบ้านสามารถตามไปอ่านได้ที่บทความ ประกันภัยบ้าน เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม   

แต่สำหรับบทความนี้เพื่อเป็นการช่วยเตรียมพร้อมในยามที่ภัยมาแต่เนิ่นๆ เราจะการพาไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเคลมประกันภัยบ้านกันว่าแต่ละขั้นตอน หรือเอกสารที่ต้องเตรียมนั้นมีอะไรบ้าง 
ขั้นตอนการเคลมประกันบ้าน 
  1. ติดต่อบริษัทผู้รับประกันเพื่อแจ้งให้รู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นทันที 
  2. ถ่ายภาพของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยละเอียด เพื่อให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด 
  3. จัดทำรายการทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมด 
  4. ให้ช่างหรือผู้รับเหมาประเมินราคาค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด 
  5. เก็บรักษาทรัพย์สินที่เสียหาย เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบ 
  6. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน 
    • หนังสือเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย 
    • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย 
    • ใบเสนอราคาค่าซ่อมแซมของผู้รับเหมา และ/หรือ ใบเสร็จรับเงินในการซ่อมแซม 
    • ภาพถ่ายความเสียหาย 
    • สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ (ในกรณีที่ต้องมีการแจ้งความ) 
    • หนังสือยอมรับผิดของบุคคลภายนอก (ในกรณีที่เสียหายจากการกระทำบุคคลภายนอก) 
  7. ส่งเอกสารให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย 
ต้องรอนานไหมกว่าจะได้รับค่าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนประกันบ้าน 
โดยปกติแล้วบริษัทผู้รับประกันจะใช้ระยะเวลาในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ภายใน 15 วันทำการ หลังจากที่ผู้เอาประกันลงนามในเอกสารตกลงค่าเสียหายและจัดส่งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัทเรียบร้อยแล้ว แต่อาจช้ากว่ากำหนดได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันนั้นๆ  
ประกันบ้าน


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : tqm.co.thms-ins.co.th, thairath.co.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว