ถึงแม้จะหายป่วย และตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าร่างกายของเราจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม เพราะเชื้อโควิด-19 อาจทิ้งอาการเจ็บป่วยไว้ให้เราต้องเผชิญนานกว่าที่คิด ลักษณะการป่วยเช่นนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะลองโควิด (LONG COVID) ซึ่งผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะลองโควิดมากถึง 87%
ในขณะที่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King’s College London) เปิดเผยว่าผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงอายุ 60 มักมีภาวะลองโควิดอยู่ที่ 5% และผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงอายุ 20 จะอยู่ที่ราวๆ 1 – 2 % คน ถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นในการพบภาวะลองโควิดจะน้อย แต่ถ้าเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมที่มีมากถึงหลักล้านก็นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย โดยอาการป่วยเรื้อรังของภาวะลองโควิดที่สามารถพบได้บ่อย มีดังนี้
10 อาการของภาวะลองโควิดที่พบบ่อย
วงการแพทย์ของประเทศอังกฤษได้อธิบายเกี่ยวกับภาวะลองโควิดว่าเป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาจน้อยหรือมากว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยอาการของภาวะลองโควิดที่สามารถพบได้บ่อยมี ดังนี้
- .อ่อนเพลียเรื้อรัง
- เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
- หายใจลำบาก หายใจติดขัด
- ปวดศีรษะ
- สมาธิจดจ่อลดลง ความจำผิดปกติ
- ไอ เจ็บแน่นหน้าอก
- ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ
- ท้องร่วง ท้องเสีย
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
- ซึมเศร้า เครียด นอนไม่หลับ
- วิตกกังวล
- ผลกระทบทางจิตใจหลังเผชิญสถานการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)
สำหรับใครที่เริ่มสงสัยตัวเองนั้นมีอาการภาวะลองโควิดก็ควรรีบเข้ารับการรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้นานจนเรื้อรังก็อาจส่งผลค้างเคียงต่ออวัยวะร่างกายส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ปอดทำงานหนัก ซึ่งค่ารักษาที่เกิดขึ้นอาจกลายเป็นภาระทางเงินที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถแบ่งเบาได้ โดยวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้กันคือ “การทำประกันสุขภาพ”
มีภาวะลองโควิดสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่
อย่างที่เราทราบกันดีว่าก่อนการตัดสินใจทำประกันทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ เราต้องศึกษารายละเอียดให้ดี โดยเฉพาะเรื่องข้อยกเว้นที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง เพราะผู้ป่วยภาวะลองโควิดมีความเสี่ยงสูงเรื่องอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งกรมธรรม์ประกันสุขภาพบางตัวอาจไม่คุ้มครอง ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพควรศึกษา และปรึกษากับตัวแทนให้ดีเสียก่อน เราจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจให้สิ่งที่ต้องจ่ายไปในภายหลัง สรุปคำตอบคือ สามารถทำได้ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการประกันภัยของแต่ละบริษัทประกัน แต่โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย
ค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์และลงตัว
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : bbc.com, who.int, cdc.gov, bangkokhospital.com, thairath.co.th, phyathai.com, thainakarin.co.th