ในโลกนี้ไม่มีอะไรจีรัง นอกจากความตายและภาษี – เบนจามิน แฟรงคลิน ณ ช่วงเวลานี้คงไม่มีคำคมไหนจะเหมาะสมไปกว่าคำคมนี้อีกแล้ว เพราะไม่ว่ายุคสมัยจะแปรเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ภาษีก็ยังคงวนเวียนอยู่รอบตัวเราเสมอ ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”
ภาษีเงินได้บุคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด และเมื่อมีการเสียภาษีเกิดขึ้น ก็ย่อมมีเรื่องของการขอลดหย่อนภาษีตามมา โดยรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มแรกที่เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักนั้นตรงกับสุภาษิตไทยที่ว่า “ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว” จ่ายเพียงครั้งเดียวแต่กลับได้ประโยชน์ทั้งช่วยบริหารความเสี่ยง และลดหย่อนภาษี ซึ่งจะเป็นสิทธิลดหย่อนไหนกลุ่มไหนไปไม่ได้เลยนอกจาก “ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน”
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน มีดังนี้
ประกันสังคม
โดยทั่วไปกฎหมายกำหนดไว้ว่าประกันสังคมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 9,000 บาท แต่เนื่องจากในปี 2564 มีการปรับลดการส่งอัตราเงินสมทบประกันสังคมลงทำให้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 6,300 บาท
ประกันชีวิตทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปจากกรมธรรม์ทุกฉบับที่เราจ่ายสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- กรมธรรม์ประกันต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- ต้องทำกับบริษัทประกันที่อยู่ในประเทศไทย
- หากกรมธรรม์มีการจ่ายเงินปันผล หรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา จะต้องได้รับเงินคืน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี แต่ถ้าคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น กรมธรรม์ประกันของเราเป็นแบบจ่ายคืนทุก 3 ปี ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมในแต่ละช่วง
ยกตัวตัวอย่างเช่น เบี้ยประกันสะสมที่เราจ่ายไปตลอด 3 ปีคือ 30,000 บาท เงินปันผล หรือผลตอบแทนระหว่างสัญญาจะต้องไม่เกิน 6,000 บาท จึงจะสามารถนำใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
เลือกซื้อประกันชีวิตที่ใช่ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีจากตรงนี้ได้เลย!!!
เงินฝากแบบมีประกันชีวิต สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- มีกำหนดระยะเวลาฝาก 10 ปีขึ้นไป
- ต้องเป็นธนาคารที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีให้บริการอยู่ 2 ธนาคาร คือ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
- ไม่ถอนเงินออกจากบัญชีจนกว่าจะถือครบ 10 ปี
- มีหลักจากธนาคารผู้รับฝากเงินชัดเจน
ประกันสุขภาพตัวเอง สำหรับปีภาษี 66 สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- ประกันสุขภาพที่เราทำต้องจัดอยู่ในประเภทดังต่อไปนี้ที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เนื่องจากเจ็บป่วยและเจ็บ อีกทั้งมีค่าชดเชยให้ในกรณีที่ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไป และบาดเจ็บ
- ประกันภัยอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
- ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
- ผู้ยื่นภาษีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ไปยังบริษัทประกันว่าต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำส่งข้อมูลการขอใช้สิทธิไปยังสรรพากรในวันที่ 7 มกราคมของทุกปี
หมายเหตุ หากรวมเบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง และเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วสามารถนำไปลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
ยกตัวเอย่างเช่น นาย noon จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปรวมแล้ว 100,000 บาท และจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไปอีก 10,000 บาท หากมองเผิน ๆ คงคิดสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 110,000 บาท แต่ในทางกฎหมายกำหนดว่าเบี้ยประกันทั้งสองประเภทนี้เมื่อรวมกันแล้วสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
เลือกซื้อประกันสุขภาพที่ใช่ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีจากตรงนี้ได้เลย!!!
ประกันสุขภาพพ่อแม่ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
พ่อแม่ตนเอง
- ผู้ยื่นภาษีต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- พ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 /ปีภาษี
- ผู้ยื่นภาษี พ่อ หรือแม่ คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน
- ประกันสุขภาพของพ่อแม่ต้องให้ความในลักษณะดังต่อไปนี้
– ประกันสุขภาพที่เราทำต้องจัดอยู่ในประเภทดังต่อไปนี้ที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เนื่องจากเจ็บป่วยและเจ็บ อีกทั้งมีค่าชดเชยให้ในกรณีที่ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไป และบาดเจ็บ ประกันภัยอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
– ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
– ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)