ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ได้ข่าวว่าสรรพากรเอาจริงเอาจังเรื่องการยื่นภาษีอยู่ด้วย โอ๊ย! กลุ้มใจไม่ไหวแล้ว ใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะว่าสรรพากรมีทางออกให้พวกเรา และทางออกนั้นก็คือ “การยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลัง”
กรณีไหนบ้างที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลัง
- ยื่นภาษีเงินได้ เลยระยะที่สรรพากรกำหนด
- ยื่นภาษีเงินได้ ภายในระยะเวลา แต่ไม่ชำระภาษีเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ยื่นภาษีเงินได้เพิ่มเติม เลยระยะเวลาที่สรรพากรกำหนด
ยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลังเตรียมตัวอย่างไร?
- เตรียมเดินทาง เพราะการขอยื่นภาษีเงินได้ย้อนหลังไม่สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ต้องเดินทางไปยื่น/ชำระภาษีด้วยตัวเองที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เท่านั้น!!!
- เตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งเอกสารที่จำเป็นมีดังนี้
- ฟอร์มภ.ง.ด.90/91
- เอกสารหลักฐานแสดงการมีรายได้ หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ที่ได้รับจากนายจ้าง ซึ่งใบ 50 ทวิจะมีรายละเอียดสำคัญๆ อาทิเช่น รายได้รวม เงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด เป็นต้น
- หลักฐานค่าลดหย่อนต่างๆ (ถ้ามี) เช่น
- หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03)
- หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04)
- หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04-1)
- ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับรอง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดให้แก่สถานพยาบาล
- ทะเบียนสมรส
- เอกสารรับรองบุตร
- หนังสือรับรองการซื้อกองทุน LTF RMF สามารถขอได้จาก บลจ.
- ใบเสร็จ หรือเอกสารที่ช่วยยืนยันการจ่ายเบี้ยประกัน (สามารถตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันได้ที่ My Tax Account)
- ใบกำกับภาษีจากการซื้อของช่วงช็อปช่วยชาติ สินค้า OTOP สินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา และหนังสือและอีบุ๊ค
- ใบกำกับภาษีจากการเที่ยวเมืองหลัก หรือเมืองรอง
- ใบกำกับภาษีจากการซ่อมแซมบ้าน และรถที่เสียหายจากน้ำท่วม
- ใบอนุโมทนาบุญ หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อผู้ยื่นภาษีเป็นผู้บริจาค
- บริจาคเพื่อพรรคการเมือง ใบเสร็จ หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ช่วยยืนยันว่าผู้ยื่นภาษีได้บริจาคช่วยเหลือพรรคการเมือง อาทิเช่น ใบโอนกรรมสิทธิ์ต่างๆ ที่ผู้ยื่นภาษีบริจาคให้แก่พรรคการเมือง เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารสำหรับยื่นภาษี
3.เตรียมรับโทษ (ถ้ามี)
ข้อนี้อาจดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้วก็น่ากลัวอย่างที่คิดนั้นแหละ เพราะการยื่น หรือชำระภาษีเลยระยะเวลาที่สรรพากรนั้นถือว่าเป็นการกระทำผิด ซึ่งบทลงโทษที่จะได้รับมี ดังนี้
- เสียค่าปรับทางอาญา ไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร (ในทางปฏิบัติสามารถขอลดค่าปรับได้ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท )
- เสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี (นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น 1 เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)
- เสียเบี้ยปรับ 1- 2 เท่า ของภาษีที่ต้องจ่าย ตามแต่ละกรณีความผิด
ตัวอย่างโทษทางภาษี
กรณีศึกษา | บทลงโทษ |
ยื่นภาษีเลยระยะเวลากำหนด แต่ไม่เกิน 7 วัน | มีโทษปรับทางอาญา 100 บาท |
อ่านรายละเอียดบทลงโทษทางภาษีอากร
ปีนี้ยื่นภาษีไม่ทันไม่เป็นไร จงเก็บความผิดพลาดนี้ไว้เป็นบทเรียน เพราะยังมีปีภาษี 64 รอให้เราไปคว้าชัยอยู่ โดยกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราได้รับชัยชนะคือการเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาข้อมูลของภาษีเงินได้ หรือการหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในเรื่องของภาษีอยู่ไม่น้อย
noon tax คือหนึ่งในเครื่องมือนี้จะช่วยเราวางแผนจัดการภาษีตั้งแต่พาร์ทการคำนวณ แนะนำประกันชีวิตสำหรับนำมาใช้เป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษี ไปจนถึงการช่วยเตรียมข้อมูลยื่นภาษี อาจเรียกได้ว่า(เกือบ)ครบ จบในที่เดียว รับรองว่าประสบการณ์การยื่นภาษีจะ easy กว่าที่เคย
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : itax.in.th, ztrus.com, posttoday.com, rd.go.th