1 นาที

เซฟเงินค่าบ้านได้เป็นกองแค่ลองรีไฟแนนซ์

แชร์

“ผ่อนบ้านมาตั้งนานแล้วแต่ทำไมเงินต้นไม่ลดซักที” ผ่อนไปผ่อนมาทำไมดอกเบี้ยเกือบเท่าค่าบ้าน” ใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ วันนี้เรามีทางออกช่วยให้ค่าผ่อนบ้านถูกลงเป็นกองมาด้วยการ “รีไฟแนนซ์” มาเล่าสู่กันฟัง  

การรีไฟแนนซ์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ ซึ่งกลไกทั่วไปของการรีไฟแนนซ์ คือการชำระเงินกู้ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันด้วยเงินกู้ใหม่ โดยเอาสินทรัพย์ตัวเดิมเป็นหลักประกัน” 

พูดง่ายๆ ก็คือ การทำเรื่องกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารแห่งใหม่ โดยใช้บ้าน หรือคอนโดตัวเดิมมาเป็นหลักประกัน และนำเงินกู้ที่ได้ไปจ่ายสินเชื่อที่กู้มาจากธนาคารเก่า ซึ่งส่วนใหญ่สัญญาจะอนุญาตให้เราสามารถรีไฟแนนซ์ได้หลังจากผ่อนมาแล้ว 3 ปี 


รีไฟแนนซ์

ทำไมเราถึงควรรีไฟแนนซ์ 


เหตุผลที่คนเราส่วนใหญ่มักรีไฟแนนซ์บ้านก็คือ ได้อัตราดอกเบี้ยงที่ถูกลง ทำให้เราผ่อนบ้านหมดได้เร็วขึ้น 
ยกตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารเดิมอยู่ที่  5% แต่ถ้ารีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ก็จะได้อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ถูกลง ซึ่งอาจจะเหลือแค่ 3% ดังนั้นเท่ากับเราสามารถลดภาระค่าผ่อนลงไปได้ถึง 2% เป็นต้น 


ค่าบ้าน (เงินต้น) ดอกเบี้ยเดิม (5%)   รีไฟแนนซ์ ( 3%) ประหยัด/ปี 
1.5 ล้าน 75,000 45,000 30,000 

รีไฟแนนซ์อย่างไรให้ไม่พลาด 
  • เลือกดอกเบี้ยถูกที่สุด 

ศึกษา และเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแต่ละแห่ง ที่ไหนถูกที่สุดนั้นแหละเป้าหมาย 

  • เปรียบเทียบสินเชื่อเก่า และสินเชื่อใหม่ 

นำมูลค่าสินเชื่อเก่าที่ยังเหลืออยู่ และสินเชื่อใหม่มาเปรียบเทียบกัน หากดูแล้วว่าคุ้มค่าแน่นอนก็อย่ารีรอรีบรีไฟแนนซ์เลย 

  • ไม่ต้องรอ 3 ปีก็ทำเรื่องรีไฟแนนซ์ได้ 

โดยปกติเราสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้หลังจากผ่อนครบ 3 ปีไปแล้ว แต่ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะรีไฟแนนซ์แน่ๆ ก็สามารถยื่นเรื่องไปที่ธนาคารใหม่ได้ตั้งแต่ 1-2 เดือนก่อนครบสัญญา ซึ่งเหตุผลที่ยื่นก่อนนั่นก็เป็นเพราะว่ากว่าที่พิจารณา อนุมัติสินเชื่อ และประเมินราคานั้นค่อนข้างใช้เวลา หากยื่นก่อนครบสัญญาก็จะช่วยลดระยะเวลารอได้  

  • เตรียมเอกสารให้พร้อม 

การเตรียมเอกสารให้พร้อม หรือครบตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะช่วยลดเวลา และความวุ่นวายในการวิ่งหาเอกสารเมื่อถึงเวลาที่ต้องยื่นรีไฟแนนซ์ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมทั้งหมดมี 3 ประเภท คือ 

  1. เอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สำเนาบัตรประชาชน  เป็นต้น 
  2. เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน หรือหนังสือรับรองการทำงาน เป็นต้น 
  3. เอกสารด้านหลักประกัน เช่น สำเนาสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินเดิม เป็นต้น 
  • เตรียมค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ให้ครบ 
    นอกจากเอกสารที่ต้องเตรียมแล้วเรื่องเงินก็อย่าให้ขาด โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์นั้น มีดังนี้ 
  1. ค่าปรับกรณีที่คืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญาที่มีอยู่ ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน หรือคิดจากมูลค่าสินเชื่อที่ยังเหลืออยู่ 
  2. ค่าประเมินราคาหลักประกัน (สินทรัพย์) 0.25% ของราคาประเมิน แต่ถ้ารีไฟแนนซ์กับธนาคารก็ไม่ต้องจ่าย 
  3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินใหม่ 
  4. ค่าจดจำนองประมาณ 1% ของราคาประเมิน โดยเราจะต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน 
  5. ค่าประกันอัคคีภัย 
  6. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าจัดการสินเชื่อ เป็นต้น 


การรีไฟแนนซ์ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่ต้องการลดภาระค่าผ่อนชำระ และดอกเบี้ย แต่ก็อย่าลืมวางแผนสำรองไว้เผื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อย่างเช่นการเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยนะ ค่าบ้านจะได้ไม่ตกเป็นภาระของคนข้างหลัง 



ค้นหา และเปรียบเทียบประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ทุกความเป็นคุณ


ขอบคุณแหล่งข้อมูล :  krungsri.com, refinn.com

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้