เคยไหม? ที่เห็นอะไรดีก็กวาดซื้อมาหมดแบบไม่ลืมหูลืมตา รู้ตัวอีกทีของที่มีก็มากมายจนเกินความจำเป็นแล้วก็ได้แต่นั่งคิดว่าซื้อไปทำไม เอาจริงๆ แล้วสถานการณ์นี้ก็คล้ายกับการซื้อประกัน เห็นตัวไหนเขาว่าดี เขาว่าเด็ดก็ซื้อไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น และอาจทำให้กลายเป็นภาระต่อตัวเองได้ในอนาคต ชายพีร์ไม่ได้จะสื่อว่าการซื้อประกันเยอะไม่ใช่เรื่องดี แต่ถ้าซื้อเยอะจนเกินความจำเป็นก็ไร้ประโยชน์ ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า “ประกันควรซื้อเท่าไหร่ถึงไม่เกินความจำเป็น”
สิ่งที่ต้องคำนึงในการซื้อประกันคือ จุดประสงค์
จุดประสงค์หลักๆ ของการซื้อประกันโดยส่วนใหญ่ มีดังนี้
•ทำเพื่อคุ้มครองคนข้างหลัง
ในกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัวแล้วเกิดจากไปอย่างกระทันหัน แน่นอนว่าภาระที่ถือครองอยู่นั้นก็อาจตกไปอยู่ที่ครอบครัวของคุณ การทำประกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ แต่จะแบ่งเบาได้เท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับทุนประกันที่เลือก เบื้องต้นชายพีร์แนะนำว่าให้เลือกทุนประกันที่ครอบคลุมหนี้สินที่คุณมีอยู่
ตัวอย่างที่ 1 ซื้อประกันเพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สิน
ปัจจุบันชายพีร์มีภาระที่ต้องผ่อนบ้านอีก 10 ปี หรือราวๆ 2 ล้านบาท ถ้าไม่ให้หนี้ก้อนนี้ตกไปถึงครอบครัวของคุณก็ทำทุนประกันไว้ที่ 1 ล้าน สำหรับส่วนที่เหลือก็ใช้เครื่องมือรอื่นในการกระจายความเสี่ยง สาเหตุที่ชายพีร์ไม่ใช้ประกันเพียงตัวเดียวก็เพราะว่า เบี้ยประกันอาจสูงจนกลายภาระทำให้เป้าหมายที่วางไว้อาจไม่สำเร็จตามที่คิด
ตัวอย่างที่ 2 ซื้อประกันเพื่อดูแลคนที่รัก
ชายพีร์เป็นลูกคนเดียวต้องการทำประกันเพื่อดูแลคนที่รักหากวันไหนต้องจากไป ซึ่งตอนนี้พ่อแม่ของชายพีร์อายุ 60 ปี มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 60,000 บาท (ยังไม่รวมอัตราเงินเฟ้อ) และตามตารางมารณะคนไทยส่วนใหญ่จะสิ้นอายุขัยตอน 90 ปี เท่ากับเงินที่ชายพีร์จะต้องเก็บไว้เพื่อดูแลพ่อแม่ต้องเพียงพอต่อการดำรงชีวิต 30 ปี ดังนั้นทุนประกันที่ต้องเลือกทำคือ (60,000*30) = 180,000 บาท อย่าลืมคิดเผื่ออัตราเงินเฟ้อด้วยนะครับ
•ทำเพื่อการันตีเงินออม
คนเราเมื่อทำงานไปซักระยะหนึ่งก็ต้องเกษียณเป็นเรื่องธรรมดาการเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงสำคัญ ซึ่งเครื่องมือที่จะใช้สำหรับการออมเพื่อเกษียณนั้นมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน หรือเป้าหมายการลงทุนของนั้นคือไร เช่าชายพีร์วางเป้าหมายไว้ว่าจะมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ 10 ล้านบาทอาจจะดูเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ไม่ยากที่จะบรรลุครับ โดยเครื่องมือหลักๆ ที่ชายพีร์ใช้ลงทุน ได้แก่หุ้น ตราสารหนี้ และกองทุนรวม เพื่อช่วยสร้างเงินออม 90% และอีก 10% จะใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อการันตีเงินออมขั้นต่ำ เนื่องจากประกันเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังมีการการันเงินคืนอีกด้วย ดังนั้นจึงง่ายที่จะรู้ได้ว่าเมื่ออายุเกษียณแล้วคุณจะมีเงินเท่าไหร่ ไม่ต้องมานั่งเกร็งเหมือนการลงทุนแบบอื่นๆ แต่ก็อย่างว่าแหละครับความเสี่ยงน้อย ผลตอบแทนก็น้อยเช่นกัน
•ทำเพื่อลดภาระค่ารักษาการเจ็บป่วย
อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่ค่ารักษาที่แพงหูฉี่นี่อาจไม่ใช่เรื่องธรรมดาของกระเป๋าเงินซักเท่าไหร่ ประกันสุขภาพ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยคุณลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาได้ แต่ชายพีร์บอกไว้ก่อนนะครับว่า เบี้ยประกันประเภทนี้เป็นแบบจ่ายทิ้งรายปี กล่าวคือไม่มีผลตอบแทนเหมือนกับประกันชีวิตบางประเภท อย่างไรก็ตามลองพิเคราะห์ พิจารณาดูแล้วกันนะครับ ว่าในปีนึงคุณเข้าโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหน ถ้าคำตอบคือใช้ อย่าเพิ่งด่วนทำประกันสุขภาพให้ตรวจสอบก่อนว่าคุณมีสิทธิการรักษาอื่นๆ อยู่หรือไม่ เช่นพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่บริษัทจะทำประกันสังคมให้อยู่แล้ว ก็ลองดูว่าความเสี่ยงที่คุณมีนั้นต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มหรือไม่ หลักประกันทางสุขภาพคุณสามารถสร้างเองได้ครับ
ลอง คิด วิเคราะห์ แยกแยะกันดูนะครับว่าประกันที่เราจะทำนั้นจำเป็นต่อเราไหมหากทำเยอะ แต่ไม่ได้ใช้ก็ไม่มีปะโยชน์ครับ ทำน้อยแต่พอดีอาจสร้างคุณได้มากกว่า สุดท้ายฝากอีกนิดนะครับว่าการเลือกประกันควรเลือกซื้อให้สัมพันธ์กับรายรับของเราด้วยเรื่องเบี้ยประกันจะได้ไม่กลายเป็นเรื่องหนักอก