1 นาที

ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ ควรไปต่อ หรือหยุดก่อน

แชร์

หากใครเคยทำประกันรถยนต์ก็คงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์นั้นมีค่าเสียหายส่วนแรกที่เราต้องทราบอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามเงื่อนไข (Excess) และค่าเสียหายแบบสมัครใจ(Deductible) โดยมีรายละเอียดดังนี้

ค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามเงื่อนไข (Excess) คือ

เงินจำหนึ่งที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันเมื่อเกิดการเคลม และจะต้องจ่ายก็ต่อเมื่อความเสียหายนั้นเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือสาเหตุอื่นที่นอกเหนือจากการชน หรือคว่ำรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเสียหายส่วนแรกตามเงื่อนไข (Excess)

 

ค่าเสียหายแบบสมัครใจ (Deductible) คือ

คือเงินค่าเสียหายที่ระบุในกรมธรรม์ว่าให้เรา (ผู้เอาประกันภัย) เป็นคนรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรก ในกรณีที่เราเป็นผู้ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่มีคู่กรณี ซึ่งจะแตกต่างจากค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามเงื่อนไข (Excess) ตรงที่สามารถเลือกจ่าย หรือไม่จ่ายก็ได้ตามความสบายใจของเรา แต่ถ้าเลือกรับเอาค่าเสียหายแบบสมัครใจ (Deductible) มาไว้ในอ้อมอกก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ตามมูลค่าที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับกับบริษัทประกัน ซึ่งมีมูลค่าให้เลือกอยู่ที่ประมาณ 1,000-5,000 บาท 

ยกตัวอย่างเช่น หญิงนูนทำประกันรถยนต์ที่มีมูลค่าเบี้ยประกัน 10,000 และเลือกรับผิดชอบค่าเสียหายแบบสมัครใจ (Deductible) เองจำนวน 2,000 บาท เท่ากับว่าค่าเบี้ยประกันรถยนต์ที่หญิงนูนต้องจ่ายจะเหลือเพียง 8,000 บาทเท่านั้น แต่ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยมีหญิงนูนเป็นผู้ทำให้เกิดเหตุก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาททุกครั้ง (ยังไม่รวมค่า Excess)

 

ค่าเสียหายแบบสมัครใจ (Deductible) เราควรจะไปต่อ หรือหยุดดี?

สำหรับคำถามนี้ หญิงนูนคิดว่า หากตัวผู้ขับขี่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ดี เช่นไม่เคยขับรถชนใคร หรือชนสิ่งของอะไร การรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายแบบสมัครใจ (Deductible) เองก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะช่วยให้เราจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ถูกลงค่ะ

หลายคนมักคิดการที่ต้องจ่ายค่าเสียส่วนแรกเองนั้นมันเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเลย จ่ายเบี้ยประกันก็แพง ยังต้องมานั่งจ่ายเองเพิ่มอยู่อีก แต่อย่าลืมนะคะว่าค่าซ่อมรถ หรือค่ารักษาพยาบาลอาจมีมูลค่าสูงกว่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายทั้งปี รวมกับค่าเสียหายส่วนแรกเสียอีก ดังนั้นอย่ามัวแต่คิดเล็กคิดน้อยจนปล่อยให้ความปลอดภัยในชีวิต และรถของเรามีแต่รอยรั่วนะคะ

 

ขอบคุณที่มาดี๊ดี

thairath, Easyinsure, moneyguru

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับแอปเช็ค PM 2.5 ที่ทั้งใช้ดี และใช้ฟรี

ปลายปีทีไรนอกจากจะต้องนั่งลุ้นว่าบริษัทจะมีโบนัสไหม ยังต้องมานั่งลุ้นอีกว่าฝุ่น PM 2.5 จะมาตอนไหน? และที่ที่จะไปจะมีฝุ่น PM 2.5 เยอะไหม? เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับ PM 2.5 ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแนะนำ 5 แอปพลิเคชันตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ที่ใช้งานง่าย และฟรี! มาฝากกัน

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้

สร้างความสัมพันธ์ ขยายโอกาสในการขายให้ยั่งยืนด้วย 5 เครื่องมือนี้