“แกๆ ฉันซื้อประกันตัวที่แกบอกว่าดีแล้วนะ” นี่คือตัวอย่างพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่มักตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากลมปากของคนอื่น เห็นเขาว่าดี เราก็ว่าดีตามกันไป แต่ไม่เคยตั้งคำถาม หรือศึกษาข้อมูลก่อนเลยว่าเลยว่าสิ่งนั้นเหมาะสม หรือตอบโจทย์กับเราหรือเปล่า สุดท้ายแล้วก็เหลือเพียงแค่คำถามที่ดังวนเวียนอยู่ในหัวซ้ำไปซ้ำมาว่า “ซื้อมาทำไม”
แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ checklist ที่เอามาฝากกันวันนี้ช่วยให้ความผิดพลาดในการซื้อประกันลดลง
1.วางเป้าหมายในการซื้อ
ทำเพื่ออะไร ทำไปทำไม และทำเพื่อใคร นี่คือสิ่งที่เราต้องถามใจตัวเองให้ดีก่อนการตัดสินใจทำประกันชีวิต เพื่อที่จะได้ซื้อประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ความเป็นเราได้ดีที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น นางสมร สวยเสมอ มีความตั้งใจอยากออมเงิน ซึ่งประกันชีวิตที่จะตอบสนองกับเป้าหมายของนางสมรได้นั้นคือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นต้น
2.สำรวจคุณทรัพย์ และความพร้อมของตัวเอง
ประกันชีวิตส่วนใหญ่เป็นสัญญาระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และมีกำหนดชำระค่าเบี้ยเป็นงวดๆ ไปเรื่อย ๆ จนครบตามกำหนด แต่ในกรณีที่ไม่สามารถชำระค่าเบี้ยได้ตามสัญญาก็อาจทำให้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้ เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ก็อาจจะต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง ดังนั้นก่อนการซื้อประกันควรสำรวจตัวเองให้ดีเสียก่อนว่าในแต่ละเดือนนั้นเรามีรายรับเท่าไหร่ ร่ายจ่ายเท่าไหร่ แล้วจึงนำมาคำนวณว่าเบี้ยประกันชีวิตที่พอเหมาะกับเราคือแค่ไหน เอาแบบที่ตัวเองพร้อมจะจ่ายไหว จะได้ไม่มานั่งทุกข์ใจในภายหลังนะ
3.สร้างองค์ความรู้เรื่องประกัน
เรามีเป้าหมาย เรามีความพร้อมทางด้านการเงิน แต่ถ้าไม่มีความรู้ก็อาจตกม้าตายได้เหมือนกันนะ โดยเริ่มต้นศึกษาจากเว็บไซต์ หรือเพจต่าง ๆ แต่ถ้าเอาแบบ 100% ก็ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางนี้ไปเลย อย่าลืมนะว่าประกันมีเงื่อนไขมากมาย ทุกครั้งก่อนที่จะตกลงทำควรอ่านกรมธรรม์ให้ดี ๆ ว่าอะไรคือข้อยกเว้น หรือไม่คุ้มครองในส่วนไหนบ้าง
4.เปรียบเทียบกับเจ้าอื่น
รวบรวมแบบประกันที่เราอยากจะทำมาให้ได้มากที่สุด เพราะถึงจะเป็นประกันแบบเดียวกัน หรือมีจุดประสงค์เดียวกัน แต่มันก็มีความแตกต่างกันอยู่นะ ดังนั้นจงเปรียบเทียบ และเลือกทำกรมธรรม์ที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่ตัวเรา โดยเฉพาะเรื่องของผลตอบแทน หรือจะเข้ามาที่ noon.in.th ก็ได้ เพราะเรามีบริการช่วยเปรียบแบบประกันที่ใช้การคำนวณตามหลักคณิตศาสต์ประกันภัย และตารางมรณะของคนไทยโดยเฉพาะทำให้มั่นใจได้ว่า ประกันที่จะซื้อนั้นเหมาะสม และคุ้มค่าอย่างแน่นอน
5.ความน่าเชื่อถือของตัวแทน และบริษัท
ตัวแทน และบริษัทเป็นเป็นอีกหนึ่ง checklist ที่สำคัญไม่แพ้กัน หากเราได้ตัวแทน หรือบริษัทประกันที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างไปในทางที่ดีก็จะส่งผลบุญให้เรามีแต่ความแฮปปี้ มีแต่ความสบายใจ และกาย
6.สภาพไม่คล่องเหมือนฝากเงิน
ใครที่คิดที่จะทำประกันชีวิตไว้เพื่อการออมเงินอาจจะต้องทำใจหน่อย เพราะสภาพไม่คล่องเหมือนกับกันออมเงินผ่านการฝากธนาคาร ดังนั้นทางที่ดีก็อาจจะต้องแบ่งการออมเป็น 2 ส่วน คือส่วนนี้ใช้สำหรับซื้อประกันเพื่อสร้างความคุ้มครอง ส่วนอีกส่วนสำหรับออมไว้ในยามฉุกเฉิน
ส่วนอีกเรื่องที่ต้องทำใจคือ ผลตอบแทนน้อยหากเปรียบเทียบกับการนำเงินไปลงทุนในกองทุนต่างๆ แต่ก็มีข้อดีตรงที่เราจะเสี่ยงน้อยกว่าการไปลงทุนในกองทุน หรือหุ้นต่าง ๆ
7.Truth never die ต้องแถลงความทุกประการ
ในการทำประกันชีวิตทุกครั้งจะมีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพให้เราต้องตอบ สิ่งที่เราต้องทำคือตอบตามความจริงนะ หากมีการตรวจพบภายหลังว่าเราไปโกหกเขาล่ะก็บริษัทจะปฏิเสธการจ่ายสินไหม หรือยกเลิกกรมธรรม์ตัวนั้นไปเลย
8.ถามให้ดีก่อนนำไปลดหย่อนภาษี
คนส่วนใหญ่ที่ทำประกันชีวิตก็มีความหวังใจที่อยากจะนำตรงนี้ไปลดหย่อนภาษี แต่หยุดก่อนเถิดเพราะผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตบางตัวก็ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นการเซฟตัวเองไม่ให้หน้าหงายควรถามตัวแทนให้ดีก่อนว่ากรมธรรม์ที่เราซื้อนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
Infographic-8 สิ่งมหัศจรรย์ที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต