1 นาที

น้ำท่วมบ้านเสียหายหนัก เคลมประกันภัยบ้านอย่างไรดี

แชร์

ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมเฉียบพลันเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถสร้างความสูญเสีย และความเสียหายให้กับตัวเรา และทรัพย์สินได้อย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะความเสียที่เกิดขึ้นกับ “บ้าน”  หลายๆ คนจึงเลือกที่จะทำ ประกันอัคคีภัย หรือประกันภัยบ้าน ไว้มาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งรายละเอียด และเงื่อนไขความคุ้มครองโดยทั่วไปของประกันภัยบ้านสามารถตามไปอ่านได้ที่บทความ ประกันภัยบ้าน เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม   

แต่สำหรับบทความนี้เพื่อเป็นการช่วยเตรียมพร้อมในยามที่ภัยมาแต่เนิ่นๆ เราจะการพาไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเคลมประกันภัยบ้านกันว่าแต่ละขั้นตอน หรือเอกสารที่ต้องเตรียมนั้นมีอะไรบ้าง 


ขั้นตอนการเคลมประกันบ้าน 

1.ติดต่อบริษัทผู้รับประกันเพื่อแจ้งให้รู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นทันที 

2.ถ่ายภาพของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยละเอียด เพื่อให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด 

3.จัดทำรายการทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมด 

4.ให้ช่างหรือผู้รับเหมาประเมินราคาค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด 

5.เก็บรักษาทรัพย์สินที่เสียหาย เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบ 

6.เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน 

  • หนังสือเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย 
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย 
  • ใบเสนอราคาค่าซ่อมแซมของผู้รับเหมา และ/หรือ ใบเสร็จรับเงินในการซ่อมแซม 
  • ภาพถ่ายความเสียหาย 
  • สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ (ในกรณีที่ต้องมีการแจ้งความ) 
  • หนังสือยอมรับผิดของบุคคลภายนอก (ในกรณีที่เสียหายจากการกระทำบุคคลภายนอก) 

7.ส่งเอกสารให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย 


ต้องรอนานไหมกว่าจะได้รับค่าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนประกันบ้าน 

โดยปกติแล้วบริษัทผู้รับประกันจะใช้ระยะเวลาในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ภายใน 15 วันทำการ หลังจากที่ผู้เอาประกันลงนามในเอกสารตกลงค่าเสียหายและจัดส่งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัทเรียบร้อยแล้ว แต่อาจช้ากว่ากำหนดได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันนั้นๆ  


ประกันภัยบ้าน


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : tqm.co.thms-ins.co.th, thairath.co.th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน