นับถอยหลังก้าวสู่การเตรียมตัวยื่นภาษีประจำปีภาษี 66 กันแล้ว ใครที่ยังไม่ได้วางแผนลดหย่อนภาษี เวลาที่เหลืออยู่นี้อาจเป็น final call สุดท้ายที่ต้องรีบแล้ว และวันนี้เพื่อประโยชน์ทางภาษีของทุกคน noon นี้ได้สรุป 5 เคล็ดไม่ลับที่จะช่วยให้หลายๆ คนได้ประหยัดภาษีอย่างสูงสุด และถูกวิธีมาแชร์ทริคให้นำไปปรับใช้กันแบบไม่มีกั๊ก
5 เคล็ด(ไม่)ลับประหยัดภาษีอย่างถูกวิธี
1.จัดการเงินได้และหน่วยภาษี
1.1 แยกลักษณะเงินได้
เงินได้ หมายถึง รายได้ หรือรายรับที่เราได้รับมาจากการประกอบอาชีพ หรือกระทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดรายรับ โดยเงินได้ตามกฎหมายที่ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดานั้นเรียกว่า “เงินได้พึงประมาณ” ซึ่งสรรพากรได้นิยามความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประมาณ” ไว้ดังนี้ เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
และเนื่องจากที่มาของรายได้นั้นมีความหลากหลายทาง กฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนดวิธีคำนวณภาษี ดังนี้
- เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
Noted ต้องเป็นเจ้านาย-ลูกน้องกันและมีสัญญาว่าจ้าง
- เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
Noted ต้องไม่เป็นเจ้านาย ลูกน้อง และไม่เข้าข่ายวิชาชีพ ประเภทที่ 6
- เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
- เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
- เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน
- เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
- เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
อ่านบทความฉบับเต็มเกี่ยวกับ “รายได้พึงประมาณ 8 ประเภท”
Noon แนะ
ควรเช็คว่าเงินได้เป็นประเภทไหน ได้สิทธิยกเว้นภาษีหรือไม่ เพราะไม่ใช่เงินได้ทุกอันจะต้องเสียภาษี หรือใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายเหมือนกัน
1.2 การเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้เหมาะสม
5 วิธีเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีสาหรับคู่สามีภรรยา
หมายเหตุ ค่าลดหย่อนต่าง ๆ แยกตามคนที่ยื่นแบบแล้วมีรายได้ประเภท 40(1)
2.เลือกค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
การคำนวณภาษีว่าเราต้องจ่ายที่เท่าไหร่นั้น ในขั้นแรกต้องเริ่มนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของเราเองตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) มาหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการหักค่าใช้จ่ายนั้นมี 2 แบบด้วยกันคือ แบบเหมา และแบบหักตามจริง ซึ่งเงินได้แต่ละประเภทนั้นก็ต้องดูให้ดีว่าต้องเลือกหักแบบไหน
3.พิจารณาเครดิตภาษีเงินปันผล
เครดิตภาษีเงินปันผลคือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ เนื่องมาจากความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้ สรุปได้ง่ายๆ คือ เมื่อเราซื้อกองทุน หรือซื้อหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งแล้ว ทางบริษัทมีการจ่าย “เงินปันผล” ให้ ซึ่งเงินปันผลนี้ได้มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อมีการจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่นักลงทุน เงินปันผลนี้จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน รัฐจึงอนุญาตให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้บางส่วน
ที่มา เครดิตภาษีเงินปันผล ไม่ยากอย่างที่คิด
สมการเครดิตภาษีเงินปันผล
เงื่อนไขการได้สิทธิ์
การใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้จะต้องเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อต่อไปนี้
- เป็นผู้มีภูมิลำเนาในไทย : มีชื่อในทะเบียนราษฎร์ หรืออยู่ในไทยปีนั้นครบ 180 วันแล้ว
- บริษัทที่จ่ายเงินปันผลต้องเป็นบริษัทไทย : ในกรณีห้างหุ้นส่วนที่จ่ายเงินส่วนแบ่งกาไรก็ต้องเป็นห้างหุ้นส่วนไทย
- ต้องคำนวณกับเงินปันผลทุกก้อน : จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลเฉพาะเงินปันผลเพียงบางก้อน/บางบริษัท/บางกองทุนรวม ไม่ได้(รวมหมดทั้งเงินปันผลจากหุ้นและจากกองทุนรวม)
ตัวอย่างเพื่อความกระจ่าง
แค่พิจารณาเครดิตภาษีเงินปันผลก็อาจช่วยให้เราสามารถได้เงินคืนภาษีมาแบบไม่ทันตั้งตัว
4.รวบรวมและรักษาสิทธิที่มี
ในทุกๆ ปีของการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาห หลายๆ คนมักลืมใช้สิทธิที่ตนเองมีไปใช้ลดหย่อนภาษี ซึ่งพอมารู้ทีหลังก็อาจไม่ทันเสียแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นคงประโยชน์ทางภาษีอย่างสูงสุด ลองไปสำรวจซักหน่อยดีกว่าว่าตัวเรานั้นมีสิทธิตัวตัวอะไรบ้างที่จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
- พ่อแม่
- ตามคุณสมบัติ หักลดหย่อนท่านละ 30,000 บาท (ครึ่งปีหักได้ 15,000 บาท)
- บิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ไม่รวมกรณีเบี้ยประกันสุขภาพ) และบิดามารดา
- ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท แม้จะได้รับยกเว้นภาษีก็ตาม
- พี่น้องใช้สิทธิได้คนเดียว ให้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิของบิดามารดาแต่ละท่าน (แบบ ล.ย. 03 ลงนามโดยบิดามารดา)
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่
- หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อผู้มีเงินได้ 1 คน และต่อ 1 กรมธรรม์ สาหรับกรณีพี่น้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ
- กรมธรรม์เดียวกัน ให้หารเฉลี่ยเท่า ๆ กันตามจานวนผู้จ่ายเบี้ย
- พ่อแม่คู่สมรสได้ตามเงื่อนไข
- สามีภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรสได้ด้วย(ให้คู่สมรสตกลงกับพี่น้องด้วย) และสามีภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ได้ด้วย แต่รวมกันทั้งหมด (รวม 4 ท่าน) ไม่เกิน 15,000 บาท
- คนพิการ
- ตามคุณสมบัติ หักลดหย่อนคนละ 60,000 บาท(ครึ่งปีหักได้ 30,000 บาท)
- ผู้ใช้สิทธิต้องมีชื่อในบัตรประจาตัวคนพิการเป็นผู้ดูแลเป็นคนสุดท้ายในปีภาษีนั้น
- คนพิการ/คนทุพพลภาพนั้นต้องมีเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษี
- เกณฑ์ในการอุปการะดูแล
- ดูแลบุคคลต่อไปนี้ซึ่งเป็นคนพิการ/คนทุพพลภาพ: บิดามารดาของตนเอง, บิดามารดาของคู่สมรส, คู่สมรส, บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของตนเอง, บุตรติดคู่สมรส, บุคคลอื่นอีก 1 คน (จากัดแค่ 1 คนเท่านั้น)
- ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันดูแลคนพิการ/คนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิ (ทาหนังสือตกลงยินยอม ลงชื่อให้ครบทุกคน ยื่นพร้อมแบบ ล.ย. 04)
- สามีภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายที่ไม่มีเงินได้มีชื่อในบัตรประจาตัวคนพิการเพียงคนเดียวเป็นผู้ดูแลบุตรที่เป็นคนพิการ จะหักลดหย่อนบุตรที่เป็นคนพิการคนนั้นได้ด้วย
- ผู้ที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือคนพิการ หักเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายประเภทใดเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 190,000 บาท
- คลอดฝากครรภ์
- ต้องหักสิทธิสวัสดิการจากแหล่งอื่นก่อนก่อนใช้สิทธิลดหย่อนครรภ์ละ 60,000 บาท
- หักข้ามปีได้ (ฝากครรภ์ปีนี้ คลอดปีหน้ำ)ใช้สิทธิได้ตามที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่รวมกันไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
- สิทธิอยู่กับฝ่ายภรรยำเป็นหลักสามีจะใช้สิทธิได้ เมื่อรวมยื่นภาษี หรือภรรยาไม่มีเงินได้
- บุตร
- ตามคุณสมบัติ คนละ 30,000 บาท(สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป เพิ่มเป็น 60,000 บาท )
- อายุไม่เกิน 25 และยังศึกษาอยู่ / ผู้เยาว์ / ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ และต้องมีเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีไม่ถึง30,000 บาทในปีภาษีนั้น
- ไม่จำกัดจำนวนบุตรแท้ บุตรชอบด้วยกฎหมายของตนเอง หรือบุตรติดคู่สมรส
- บุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้เมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องไม่เกิน 3 คนหากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะหักลดหย่อนบุตรบุญธรรมไม่ได้
- วิธีนับจำนวน
- การนับเพื่อใช้สิทธิหักลดหย่อน 60,000 บาท สาหรับบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี2561 ให้นับบุตรทุกคน ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่
- การนับเพื่อหาจานวนบุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อน ให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่เรียงตามลาดับอายุ ไม่ว่าบุตรคนนั้นจะอยู่ในเกณฑ์หักลดหย่อนได้หรือไม่
5.ใช้สิทธิลดหย่อนตามเกณฑ์
เครื่องมือช่วยลดหย่อนภาษีแต่ละชนิด หรือแต่ละประเภทต่างมีเกณฑ์ และเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีที่แตกต่างกัน หากเราไม่เข้าว่ารายละเอียดเหล่านั้นคืออะไรอาจส่งผลให้การวางแผนลดหย่อนภาษีผิดไปจากที่ตั้งไว้
ลดหย่อนภาษีด้วยประกันมีเกณฑ์ และเงื่อนไขอะไรบ้าง
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนมีเกณฑ์ และเงื่อนไขอะไรบ้าง
เงื่อนไข และเกณฑ์การลดหย่อนภาษีด้วยค่าลดหย่อนกลุ่มเกษียณ
ค่าลดหย่อนภาษีของกลุ่มเกษียณนั้นมีเกณฑ์การลดหย่อนแบบเป็นลำดับ ดังนี้
ตัวอย่างเพื่อความกระจ่าง
นาย noon มีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย และหักลดหย่อนสิทธิส่วนตัวไปแล้วอยู่ที่ 1,040,000 ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าลดหย่อนกลุ่มเกษียณ โดยสิทธิที่นาย noon สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้มีทั้งหมด 3 สิทธิ คือ
รายการ | มูลค่าที่ลงทุน |
PVD: เงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ | 180,000 บาท |
RMF: เงินลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | 300,000 บาท |
เบี้ยประกันบำนาญ | 100,000 บาท |
SSF: เงินลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม | 200,000 บาท |