3 นาที

5 โรคร้ายที่มากับฝน พร้อมแนะวิธีรักษาเบื้องต้น

แชร์

ฤดูฝนอาจนำพามาซึ่งสายน้ำที่ชุ่มช่ำและอากาศที่เย็นสดชื่น แต่รู้หรือไม่ความชื้นที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้โรคต่างๆ แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะหากพื้นนั้นๆ มีน้ำท่วมขังก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก และเพื่อไม่ให้ทุกคนต้องตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายเหล่านั้น วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ 5 โรคร้ายที่มากับฝน พร้อมแนะวิธีป้องกันในเบื้องต้น 

โรคร้ายที่มาพร้อมกับฝน 

สาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย (ชนิดไม่รุนแรง) ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง 

อาการ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไข้หวัดจะมีอาการรุนแรงในช่วง 2-3 วันแรก และทุเลาลงเรื่อยๆ จนหายเป็นปกติภายใน 1- 2 สัปดาห์ แต่อาจมีอากรไอหลงเหลืออยู่บ้าง โดยอาการทั่วไปของไข้หวัด มีดังนี้  

  • น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจได้ไม่สะดวก  
  • เจ็บคอ ไอ จาม เสียงแหบ  
  • อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว  

นอกจากนี้ ในบางกรณีอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น  

  • ไข้สูง 37-39 องศา ปวดศีรษะ  
  • ปวดหู ปวดหู หากมีอาการปวดมาก ๆ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่หูปวดกล้ามเนื้อ

วิธีการรักษาเบื้องต้น (อาการไม่หนักมาก)  

  • พักผ่อนมากๆ การนอนหลับจะช่วยให้อาการของไข้หวัดดีขึ้นได้  
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม 
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะผู้ป่วยไข้หวัดนั้นมักจะสูญเสียน้ำจากเหงื่อที่เกิดขึ้นจากไข้ และน้ำมูกที่มากพร้อมกับอาการคัดจมูก 
  • รับประทานอาหารที่ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน  
  • รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราเซตามอล และยาไอบูโพรเฟน 
  • รับประทานยายาแก้คัดจมูก (Decongestants) ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น 
  • รับประทานยายาลดน้ำมูก ช่วยให้ไข้หวัดหายได้เร็วยิ่งขึ้น 
  • รับประทานยายาแก้ไอ จะช่วยให้เสมหะนิ่มลงและขับออกได้ง่ายขึ้น 

**ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 สัปดาห์ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน 



สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่  

อาการ ผู้ที่ป่วยจะมีอการคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะรุนแรงกว่า มีไข้สูงเกิน 39 – 40 องศาติดต่อกันหลายวัน และอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กโต หรือผู้ใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลียอย่างรุนแรงด้วย  

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับโรคนี้คือ ภาวะแทรกซ้อน อย่าง โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น 

วิธีการรักษาเบื้องต้น (อาการไม่หนักมาก)  

  • หากมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามใบหน้าและลำตัว 
  • รับประทานพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ และหลีกเลี่ยงยากลุ่มแอสไพลิน 
  • หากมีน้ำมูกใช้ยาลดน้ำมูก และยาละลายเสมหะ 

**ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนนะ 



สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส “เด็งกี่” (Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้เลือดออกนั้นนับเป็นโรคที่รุนแรงมาก หากรักษาไม่ทันอาจอันตรายถึงชีวิตได้ 

อาการ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แต่อาการพื้นฐานคือ มีไข้คล้ายกับหวัดทั่วไป ตัวร้อน อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ความดันโลหิตต่ำ ท้องเสีย และปวดตา เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออกบริเวณผิวหนัง เป็นจุดเล็กๆ รวมถึงอวัยวะภายใน เช่น ทางอาหาร เป็นต้น บางรายมีอาการอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หนักสุดคือ เกิดภาวะช็อกซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตได้

วิธีการรักษาเบื้องต้น (อาการไม่หนักมาก)  

  • ดื่มน้ำผลไม้ หรือเกลือแร่เยอะๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ 
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะๆ  
  • รับประทานอาหารอ่อน 
  • รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ปริมาณตามที่แพทย์สั่ง) หลีกเลี่ยงยากลุ่มแอสไพลินและยากลุ่ม NSAID  

**หากอาเจียนหนัก มีอาการปวดท้อง ไข้ลดอย่างรวดเร็ว ตัวเย็นผิดปกติ ไม่ปัสสาวะนาน 6 ชั่วโมง ไปพบแพทย์โดยด่วน 



สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่าในฉี่ของสัตว์ (หนู หนู วัว ม้า หมู และสุนัข) โดยแบคทีเรียชนิดนี้มีน้ำเป็นตัวนำพา ดังนั้นหากเราต้องไปยังบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หรือสัมผัสกับพื้นที่ชื้นแฉะก็อาจส่งผลให้เราติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่าได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีบาดแผลบริเวณผิวหนัง หรือรอยขีดข่วนต่างๆ   

หมายเหตุ เชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่าสามารถอยู่ในน้ำได้นานถึง 30 วัน  

อาการ  

อาการของโรคมักมีมีไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลียมาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หนาวสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อ ตัวและตาเหลือง เยื่อบุตาอักเสบ มีตาแดงจัดหรือมีตาเหลือง ปัสสาวะมีความผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ   ตับและไตจะทำหน้าที่ผิดปกติ  รู้สึกไม่อยากอาหาร มีผื่นขึ้น และบางรายพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้  

หมายเหตุ อาการดังกล่าวอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคล 


วิธีการรักษาเบื้องต้น  

เราแนะนำให้ไปพบแพทย์ แต่จริงๆ แล้วส่วนใหญ่อาการของโรคฉี่หนูมักไม่รุนแรง และหายดีได้เอง หรืออาจรักษาด้วยการรับประทานปฏิชีวนะอย่างยาเพนิซิลลิน (Penicillin) หรือดอกซีไซคลิน (Doxycycline) เป็นระยะเวลา 5-7 วัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และรักษาอาการติดเชื้อด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าไปในกระแสเลือดโดยตรง และหากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปสร้างความเสียหายให้แก่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายอาจต้องใชเครื่องมือช่วย อาทิเช่น หากไตเสียหายจากเชื้อแบคทีเรียผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้การล้างไตเข้าช่วย เป็นต้น



 

สาเหตุ เกิดจากติดเชื้อไวรัสชิกุนคุนยา(Chikungunya) ซึ่งเป็นไวรัสคนละกลุ่มกับไข้เลือดออกและไข้ไวรัสซิก้า โดยพาหะของโรคนี้คือยุงลายบ้าน และยุงลายสวน ซึ่งจะระบาดในช่วงฤดูฝน หรือบริเวณที่มีน้ำขังและต้นไม้หนาแน่นเป็นส่วนใหญ่

อาการ  

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น 2-3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง 
  • ปวดข้อและเมื่อยกล้ามเนื้อ มีภาวะข้ออักเสบ  
  • เกิดผื่นแดงตามแขนขาหรือทั่วร่างกาย 
  • ตาแดง 
  • รับประทานอาหารไม่ได้ 
  • คลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะ 
  • อ่อนเพลีย หรืออาจท้องเสีย 

หมายเหตุ โรคนี้พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่สามารถหายเองได้ใน 2 สัปดาห์ โดยในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปอาจมีภาวะปวดข้อเรื้อรังได้ร่วมด้วย 


วิธีการรักษาเบื้องต้น  

เราแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพราะปัจจุบันยังไม่มียารักษา และวัคซีนป้องกันโรคนี้ การรักษาจึงเป็นแบบรักษาไปตามอาการ เช่นหากปวดหัว หรือมีไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล  เป็นต้น และนอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่ผู้ป่วยต้องปฏิบัติคือ การดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 

โรคร้ายที่มากับฝนทั้ง 5 โรคนี้อาจดูเหมือนธรรมดา แต่ร้ายลึกไม่ใช่เล่น เราจึงต้องตั้งการ์ดเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าค่ารักษามีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การมีเงินออมฉุกเฉิน หรือมีเครื่องมือช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาอย่าง “ประกันสุขภาพ” ไว้ก็อาจทำให้เรามีหลักประกันสุขภาพที่แข็งแกร่งขึ้น และหากวันใดล้มหมอนนอนเสื่อขึ้นมาสิ่งนี้แหละจะช่วยให้เราไม่เดือดร้อน 



Infographic – 5 โรคร้ายที่มากับฝน พร้อมแนะวิธีรักษาเบื้องต้น

ขอบคุณที่มาดี๊ดี : supamitrhospital.com, pobpad.com, bangkokhospitalphitsanulok.com, rama.mahidol.ac.th, drhann.com, news.thaipbs.or.th, honestdocs.com, bumrungrad.com, bangpakokhospital.co, samitivejhospitals.com, siphhospital.com/th

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีไม่ทัน มีทางแก้อะไรบ้าง?

ตายแล้ว!!! มัวแต่ทำนู้นทำนี่จนลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90/91) ไปเลย แล้วอย่างนี้จะเอาไงต่อดีล่ะ ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะบทความนี้มีคำตอบ

พนักงานเงินเดือนยื่นภาษีออนไลน์ง่ายๆ แค่นี้เอง!

หมดกังวลเรื่องยื่นภาษี! บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับพนักงานเงินเดือนแบบง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน