1 นาที

10 ข้อแนะนำควรทำเมื่อ “หายดี” จากอาการป่วยโควิด-19

แชร์

เมื่อเราป่วยจากอาการไข้หวัดธรรมดา พอรักษาจนหายดีก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที แต่อาการป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 นั้นกลับแตกต่างออกไป เพราะเมื่อหายดี หรือแพทย์ลงความเห็นว่าอาการดีขึ้นจนสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ เรายังจำเป็นต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้านอีก 14 วัน และปฏิบัติตามคำแนะนำจากกรมการแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวเรา และคนรอบข้าง  

10 ข้อแนะนำที่ควรทำเมื่อ “หายดี” จากอาการป่วยโควิด-19 
  1. กักตัวอยู่บ้านจนครบ 14 วัน นับจากวันที่แพทย์จำหน่ายให้ออกจากโรงพยาบาลได้ 
  2. งดออกจากบ้านไปยังชุมชนทุกกรณี ยกเว้นการเดินทางไปโรงพยาบาลโดยการนัดหมายและการจัดการโดยโรงพยาบาล  
  3. ให้แยกห้องนอนจากผู้อื่น ถ้าไม่มีห้องนอนแยกให้นอนห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 3-5 เมตร และต้องเป็นห้องที่เปิดให้อากาศระบายได้ดี ผู้ติดเชื้อนอนอยู่ด้านใต้ลม หากไม่สามารถจัดได้อาจจะต้องให้ผู้ติดเชื้อพักที่ศูนย์แยกโรคชุมชน (Community isolation) จนพ้นระยะการแยกโรค  
  4. แยกห้องน้ำใช้กับคนอื่นๆ ในบ้าน ถ้าแยกไม่ได้ ให้เช็ดพื้นผิวที่มีการสัมผัสด้วยน้ำยาทำ ความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่นแอลกอฮอล์หลังการใช้ทุกครั้ง  
  5. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ  
  6. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจํา โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำ  หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70%  
  7. ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น  
  8. เว้นระยะห่างจากผู้อื่น 2 เมตร และสวมหน้ากากตลอดเวลา  
  9. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ  
  10. หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการเดิมหนักขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสถานพยาบาล หรือโทรสายด่วน 1422 หรือ 1668 และหากต้องเดินทางมาสถานพยาบาล แนะนําให้สวมหน้ากากระหว่างเดินทางตลอดเวลา  

คู่มือปฏิบัติตัวหลังจากหายป่วยโควิด-19



โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องใกล้ตัว วางแผนรับมือภาระค่ารักษาด้วยประกันสุขภาพ  

เปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่เป็นคุณได้ที่นี่  


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : mgronline.com ,  คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

4 ศัพท์ประกันต้องรู้กับประกันสุขภาพ Co-Payment

อยู่ดีๆก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ ประกันสุขภาพที่เราเคยเคลมแบบฉ่ำๆ เพราะมีเหมาจ่าย แต่อยู่ดีๆก็มีเงื่อนไข Co-payment หรือการมีส่วนร่วมจ่าย เข้ามาซะอย่างงั้น โดยเงื่อนไข Co-payment นี้จะมีผลกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ระวังให้ดี!! ไม่ยื่นภาษี อาจมีความผิด

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของชาวไทย หากละเลยนี้เมื่อใด สรรพากรก็อาจยกไม้เรียวที่ชื่อว่า "โทษปรับทางอาญา" "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" ขึ้นมาตีเราทันที ไม่อยากดีก็รบยื่นภาษีกันให้ไว